" สงขลา.. " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาว อาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น ในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ" ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223 เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี พงศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบัน เมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา) เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน (พ.ศ.2318-2444) จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของ แหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีรา เมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน
" สงขลา.. " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาว อาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น ในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ" ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223 เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี พงศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบัน เมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา) เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน (พ.ศ.2318-2444) จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของ แหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีรา เมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน
| ||||||
| ||||||
| ||||||
| ||||||
| ||||||
| ||||||
|
ถนนนางงาม ถนนเส้นงามของสงขลา
ย่าน นี้มีของอร่อยเพียบ มีเค๊กอินโดนีเซียน ขนมสัมปันนี
ทุเรียนกวนย่าง ขนมขี้มอด ขนมทองเอก
และอื่นๆอีกมากมาย
บ้านสวย ดูเพลิน เิดินเล่นสบาย
และเป็น ย่านที่มีศาลเจ้าสีแดงๆอยู่เต็มไปหมด
ของ ข้างในศาลเจ้า ก็มีแต่สีแดง
โรง งิ้วในศาลเจ้า เห็นโต๊ะเก้าอี้เล็กๆใต้โรงงิ้วไหม นั่นคือร้านก๋วยเตี๋ยวจิ๋ว เด็กๆคงนั่งกินกันสบาย
สี กำแพงบ้าน ตัดกับสีกำแพงศาลเจ้า เขียวสดใส
โหล กะหรี่ปั้ป ท่าทางน่ากิน วางขายคู่กันในร้านซาลาเปา
เดิน ไปเดินมา เจอะบ้านคน บ้า ศิลปะ ไม่รู้ว่าจงใจทำตัว น หายรึเปล่า
ใน ความเก่า มีความงาม และความหมาย
เจอกล่อง ไปรษณีย์สีฟ้า น่ารัก
เที่ยวใน เมืองสงขลา อิ่มใจ อิ่มตา และอิ่มพุง
นั่นคือ"ถนนนางงาม" ซึ่งเป็นย่านเมืองเก่าในจังหวัดสงขลา ซึ่ง"ดัง"คู่กับย่าน เมืองเก่าอีก 2 สาย คือถนนนครนอก และถนนนครใน
ถนนทั้ง 3 สายมีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิกสไตล์ "ชิ โน-โปรตุกีส"(หลายคนคงคุ้นจากเมืองภูเก็ต) และยังเป็นถนนที่มีขนมอร่อยๆทั้งของไทย จีน ฝรั่ง ให้เลือกชมและชิมอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ
หลายคนอาจจะอยากรู้เรื่อง"ชื่อ"ของ"ถนนนางงาม" ว่านางงามอะไร? ใครคือนางงาม? และทำไมกลายมาเป็นตำนานของถนนชื่อน่ารักสายนี้
เดิมถนนสายนี้ ชื่อ"ถนนเก้าห้อง" และถูกเรียกเป็น "ถนนนางงาม"
คนเก่าแก่จะเล่าว่า คนที่เป็นเจ้าของ"ชื่อถนน"คือคุณ กมลทิพย์ สุดลาภา ชาวสงขลาที่เกิดและเติบโตย่านถนนสายนี้ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียน"วรนารีเฉลิม" โรงเรียนสตรีคู่เมืองสงขลา และครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยครูสวนดุสิต และแต่งงานกับคุณเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าฯหลายจังหวัด
แต่ดร.ศรี สุพร ช่วงสกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา" ระบุว่า "ถนน เก้าห้อง" มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2385 ถูกเรียกขานเป็น "ถนนนาง งาม" หลังปี 2478 เพราะเป็นปีที่จังหวัดสงขลาเริ่มจัดงานปีใหม่และงานฉลองรัฐธรรมนูญ และมีประกวดนางงามสงขลาเป็นปีแรก
ประวัติศาสตร์ระบุว่า นางงามสงขลาคนแรก เป็นสาวงามจากถนนเก้าห้อง คือ คุณนงเยาว์ โพธิสาร (นามสกุลเดิม "บุญยะศิวะ") ทำให้ชาวสงขลา(พร้อมใจกัน)เรียก"ถนนเก้าห้อง" ว่า"ถนน นางงาม" ตั้งแต่นั้น
อีกตำนานระบุว่า ชื่อ "นางงาม" อาจเพี้ยนเสียงมาจาก "นา งาม" เพราะบริเวณนี้เคยเป็นท้องนามาก่อน และพัฒนาเป็นย่านการค้าของสงขลา มีเรือสินค้ามาขึ้นฝั่งคึกคักมา โดยมีโรงชื่อดังที่สุดคือ"โรงสีแดง" หรือ"โรงสี หับโห้หิ้น" เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยนแปลว่า เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง
(ชื่อนี้ถูกบริษัทหนังเอาไปใช้)
จำนวนสุดท้าย ระบุว่า "ถนนนางงาม" อาจจะมาจากการที่บริเวณดังกล่าวเป็นถนนเริงรมณ์ มีหญิงงามบริการ (แต่ข้อนี้ไม่มีการยืนยัน)
ไม่ว่า"ตำนานชื่อ"จะมาจากไหน ไปสงขลาครั้งหน้า ผมแนะนำให้ไปเดินเที่ยว"ถนนนางงาม" จะอิ่มท้อง อิ่มใจ ครับ
เขียนโดย prata
(รู้มาเช่นนี้ หากผิดพลาดขอให้ผู้รู้แก้ไขด้วย)
โรงสีแดงหรือโรงสีหับโห้หิ้น เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง มีนายสุชาติ รัตนปราการ นักเรียนปีนัง เป็นคนออกแบบ โรงนี้แห่งนี้ตั้งมานานแล้ว รับข้าวเปลือกมาจากระโนด มีคนงานเชื้อจีนกว่า 10 คน เปิดเครื่องสีข้าวทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข้าวที่สีเสร็จจะส่งไปขายแถวจังหวัดภาคใต้ นราธิวาส ตรังกานู มาเลเซีย ปิดกิจการไปตั้งแต่หลังสงครามโลก ปัจจุบันไม่ได้เป็นโรงสีข้าวแล้ว
เปิดตำนาน หับ โห้ หิ้น จากโรงสี สู่บริษัทหนัง
"หับ โห้ หิ้น" ใครได้ยินชื่อนี้ ต้องนึกถึงบริษัทหนังชื่อดัง ซึ่งจับมือกับค่ายยักษ์อย่างแกรมมี่ และ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในนาม "จีเอ็มเอ็ม-ไท-หับ" ฝากผลงานชิ้นเอกประดับโลก
เซลลูลอยด์เมืองไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น "แฟนฉัน" "15 ค่ำ เดือน 11" "มหา’ลัยเหมืองแร่" "เพื่อนสนิท" ฯลฯ แต่สำหรับชาวสงขลาย่านเมืองเก่า "หับ โห้ หิ้น" คือโรงสีข้าวเก่าแก่ในตัวอาคารสีแดงแรงฤทธิ์ ที่ยังคงความขลังอย่างคลาสสิกบนถนนนครนอก
แต่ทำไม ต้อง "หับ โห้ หิ้น" ชื่อนี้เป็นภาษาอะไร แปลว่าอย่างไร? น่าสนใจยิ่งนัก
วิทยานิพนธ์ของ ดร.ศรีสุพร ช่วงสกุล แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา" ระบุไว้ตอนหนึ่ง ว่าย่านเมืองเก่าสงขลา เขต ต.บ่อยาง เป็นบ้านเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี 2385 มีถนนสายหลักคือ นครนอก นครใน และ ถนนเก้าห้อง (ภายหลังเรียกถนนนางงาม) เศรษฐกิจของสงขลาระยะนั้น ขับเคลื่อนโดยกลุ่มพ่อค้าเชื้อสายจีนหลายตระกูล เช่น ณ สงขลา รัตรสาร รัตนปราการ โคนันทน์ เงารังษี เลขะกุล ฯลฯ ทำธุรกิจค้าขายกับเกาะปีนัง รวมทั้งมีกิจการโรงสี รองรับผลผลิตข้าวจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอันอุดมสมบูรณ์
ในจำนวนนั้น มีโรงสีหับ โห้ หิ้น ที่ขุนราชกิจจารี (ต้นตระกูลเสาวพฤกษ์) ร่วมหุ้นกับตระกูลโคนันทน์ ตั้งขึ้นราวปี 2454 ต่อมาในปี 2468 นายสุชาติ รัตนปราการ หนุ่มนักเรียนปีนัง หลานตาของท่านขุนเข้ามาดำเนินกิจการแล้วซื้อหุ้น โดยไปกู้เงินใส่กระสอบแบกทูนมาจ่ายให้หุ้นส่วน จนโรงสีหับ โห้ หิ้น ตกเป็นของนายสุชาติเพียงผู้เดียว แล้วด้วยความที่เป็นนักเรียนนอกหัวก้าวหน้า นายสุชาติพัฒนาโรงสีโดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์พลังไอน้ำ คือการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไอน้ำไปสีข้าว นับว่าทันสมัยมากในยุคนั้น ตามประวัติว่านายสุชาติลงมือเขียนจดหมายไปสั่งซื้อเครื่องนี้โดยตรงจาก อังกฤษทีเดียว
ต้นตระกูล "รัตนปราการ" เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน "แซ่ก๊วย" จากมณฑลฮกเกี้ยน อพยพมาตั้งรกรากที่สงขลา ตั้งแต่ราวปี 2250 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา คำว่า "ก๊วย" แปลว่ากำแพงเมือง จึงเป็นที่มาของนามสกุล "รัตนปราการ" แปลว่า "กำแพงแก้ว"
ส่วนชื่อโรงสี "หับ โห้ หิ้น" เป็นภาษาฮกเกี้ยน มีผู้แปลความว่าหมายถึง เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง สอดคล้องกับความเห็นของ อาจารย์สุขสันต์ วิเวกเมธากร ผู้เชี่ยวชาญจีนศึกษา เจ้าของนามปากกา "เล่าชวนหัว" และเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาจีน "สุขสันต์วิทยา" ที่ว่า "หับ" ในภาษาจีนฮกเกี้ยน น่าจะตรงกับคำว่า "ฮะ" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่แปลว่า ความสามัคคี สมานฉันท์ ส่วน "โห้" น่าจะตรงกับ "ฮ่อ" หมายถึง ความดี ความเจริญรุ่งเรือง
แต่ "หิ้น" อาจจะเป็นคำนาม หมายถึง สวน หรือที่ที่มีคนมาชุมนุมกัน รวมความแล้ว "หับ โห้ หิ้น" ในทัศนะอาจารย์สุขสันต์ ควรจะแปลว่า "สวนสมานฉันท์อันเจริญรุ่งเรือง"
นายสุชาติ รัตนปราการ ดำเนินกิจการโรงสีหับ โห้ หิ้น จนเจริญรุ่งเรืองสมชื่อ โดยรับข้าวเปลือกจากย่านระโนด หัวไทร พัทลุง บรรทุกลงเรือเอี้ยมจุ๊นใช้ใบล่องทะเลสาบสงขลามาเทียบท่าเรือด้านหลังโรงสี มีคนงานเชื้อสายจีนราว 10 คน เปิดเครื่องสีข้าวทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข้าวที่สีเสร็จส่งไปขายนราธิวาส เลยไปถึงมาเลเซีย แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ก็เลิกกิจการไป "หับ โห้ หิ้น" โรงสีแดงแห่งถนนนครนอก จึงกลายเป็นตำนานในความทรงจำของชาวสงขลา
หลังจากนั้น นายสุชาติไปมีบทบาทสำคัญในการแปลงผืนป่าบ้านคลองแงะ อ.สะเดา จ.สงขลา ให้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โดยใช้ที่ดินราว 600 ไร่ ซึ่งมารดา นางกอบกุล รัตนปราการ ได้รับสืบทอดจากขุนราชกิจจารี มาทำประโยชน์ให้ชุมชน ทำให้คลองแงะมี "ถนนกอบกุลอุทิศ" มี "วัดกอบกุลรัตนาราม" มี "โรงเรียนกอบกุลวิทยาคม" ฯลฯ เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำตราบจนวันนี้ (จากหนังสือ "จีนทักษิณ วิถีและพลัง" โดย ศ.สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และคณะ)
ส่วนโรงสีแดง หับ โห้ หิ้น บนถนนนครนอก ทายาทตระกูลรัตนปราการก็อนุรักษ์ไว้เป็นอนุสรณ์เช่นกัน วันที่ผมแวะเข้าไปชมโรงสีนี้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พบว่าพื้นที่ส่วนท่าเรือที่เคยเป็นท่าข้าวเปิดให้เช่าเป็นแพปลา ภายในโรงสีที่ว่างเปล่ากลายเป็นลานจอดรถ และทราบว่าเคยเป็นสถานที่ถ่ายทำหนังบางเรื่อง เช่น "ฟอร์มาลีน แมน-รักเธอสุดหัวใจ" แสดงนำโดย เอกชัย ศรีวิชัย นักร้องลูกทุ่งชื่อดังชาวปักษ์ใต้ ส่วนตัวอาคารด้านนอกทาสีแดงสดใสใหม่ แต่ยังเห็นปล่องโรงสีเก่าสมชื่อ "โรงสีแดง" ที่ชาวสงขลาเมืองเก่ารู้จักกันดี
ทราบว่าปีหน้า นายกเทศบาลนครสงขลา-คุณอุทิศ ชูช่วย จะพัฒนาถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม เป็นถนนสายวัฒนธรรม ถึงวันนั้น โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ก็จะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของถนน ทำให้เยาวชนและคนต่างบ้านต่างเมืองเรียนรู้ตำนานเมืองเก่าสงขลาได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น จึงควรที่ตระกูลรัตนปราการจะได้รับคำขอบคุณที่รักษาโรงสีของตระกูลไว้เพื่อ คนรุ่นหลัง