• Twitter
  • Technocrati
  • stumbleupon
  • flickr
  • digg
  • youtube
  • facebook

Follow our Network

ประวัติจังหวัดสงขลา

0

ประวัติความเป็นมา
" สงขลา.. " ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของประเทศไทยมาแต่สมัยโบราณ มีชุมชนโบราณและเมืองเก่าแก่ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณี และการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สงขลาเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในบันทึกของพ่อค้าและนักเดินเรือชาว อาหรับ-เปอร์เซีย ระหว่าง ปี พ.ศ.1993-2093 ในนามของเมืองซิงกูร์ หรือซิงกอร่า แต่ในหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม ของนายกิโลลาส แซร์แวส เรียกชื่อเมืองสงขลา ว่า "เมืองสิงขร" จึงมีการสันนิษฐานว่า คำว่า สงขลา เพี้ยนมาจากชื่อ "สิงหลา" (อ่าน สิง-หะ-ลา) หรือสิงขร เหตุผลที่สงขลามีชื่อว่า สิงหลา แปลว่าเมืองสิงห์ โดยได้ชื่อนี้มาจากพ่อค้าชาวเปอร์เซีย อินเดีย แล่นเรือมาค้าขาย ได้เห็นเกาะหนู เกาะแมว เมื่อมองแต่ไกล จะเห็นเป็นรูปสิงห์สองตัวหมอบเฝ้าปากทางเข้าเมืองสงขลา ชาวอินเดียจึงเรียกเมืองนี้ว่า สิงหลา ส่วนไทยเรียกว่า เมืองสทิง เมื่อมลายูเข้ามาติดต่อค้าขายกับเมืองสทิง ก็เรียกว่า เมืองสิงหลา แต่ออกเสียงเพี้ยนเป็นสำเนียงฝรั่งคือ เป็นซิงกอร่า (Singora) ไทยเรียกตามเสียงมลายูและฝรั่งเสียงเพี้ยนเป็นสงขลา อีกเหตุผลหนึ่งอ้างว่า สงขลาเพี้ยนมาจาก "สิงขร" แปลว่า ภูเขา โดยอ้างว่าเมืองสงขลาตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาแดง ต่อมาได้มีการพระราชทานนามเจ้าเมืองสงขลาว่า "วิเชียรคีรี" ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยไว้ว่า "สงขลา" เดิมชื่อสิงหนคร (อ่านว่า สิง-หะ-นะ-คะ-ระ) เสียงสระอะอยู่ท้าย มลายูไม่ชอบ จึงเปลี่ยนเป็นอา และชาวมลายูพูดลิ้นรัวเร็ว ตัดหะ และ นะ ออก คงเหลือ สิง-คะ-รา แต่ออกเสียงเป็น ซิงคะรา หรือ สิงโครา จนมีการเรียกเป็น ซิงกอรา สงขลา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวสืบต่อกันตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีการค้นพบหลักฐาน ได้แก่ ขวานหิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่อำเภอสทิงพระ ประวัติ ความเป็นมา และวัฒนธรรมสมัยที่เมืองสทิงพระเจริญ เค บูรล์เบท ได้ให้ทัศนะว่า สทิงพระ คือศูนย์กลางของอาณาจักรเซี้ยะโท้หรือเซ็กโท เป็นแหล่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดียโดยตรงในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 ศตวรรษ เพราะมีร่อยรอยทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ที่แสดงให้เห็นว่าเมืองสทิงพระเป็นศูนย์กลางการปกครองดินแดน รอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาในสมัยนั้น ในพุทธศตวรรษที่ 19 ชื่อเมืองสทิงพระเริ่มเลือนหายไป และเกิดชุมชนแห่งใหม่ใกล้เคียงขึ้นแทน เรียกว่า "เมืองพัทลุงที่พะโคะ" ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ต่อมาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 พวกโจรสลัดมลายูได้เข้าคุกคามบ่อย ๆ ทำให้เมืองพัทลุงที่พะโค๊ะค่อย ๆ เสื่อม หลังจากนั้นเกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง บริเวณรอบทะเลสาบสงขลา คือ บริเวณเขาแดงปากทะเลสาบสงขลา และได้กลายเป็นเมืองสงขลาริมเขาแดง และอีกแห่งที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง และกลายเป็นเมืองพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ.2162-2223 เมืองสงขลาริมเขาแดงมีความเจริญด้านการค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีเจ้าเมืองเชื้อสายมลายูอพยพมาจากอินโดนีเซีย พวกมลายูเหล่านี้ได้หลบหนีการค้าแบบผูกขาด ของพวกดัทช์มาเป็นการค้าแบบเสรีที่สงขลา โดยมีอังกฤษ์เป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ในระยะแรกระหว่าง ปี พงศ.2162-2185 เจ้าเมืองสงขลาเป็นมุสลิม หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2185-2223 เจ้าเมืองสงขลาเป็นกบฎไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในที่สุดจึงถูกสมด็จพระนารายณ์มหาราชปราบปรามจนราบคาบ และถูกปล่อยให้ทรุดโทรม และตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองพัทลุง จนถึงช่วงปี พ.ศ.2242-2319 เมืองสงขลาไปตั้งขึ้นใหม่ที่บริเวณบ้านแหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งตัวเมืองสงขลาปัจจุบัน เมืองสงขลาได้พัฒนาเป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อ พ.ศ.2310 ประเทศสยามเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ได้เกิดก๊กต่าง ๆ ขึ้น เจ้าพระยานคร ซึ่งตั้งตัวเป็นใหญ่ ได้ตั้ง นายวิเถีย ญาติมาเป็นเจ้าเมือง เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบก๊กเจ้านครได้แต่งตั้งให้ จีนเหยี่ยง แซ่เฮ่า ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เป็นเจ้าเมืองในปี 2318 ได้รับพระราชทินนามเป็น "หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ" (ต้นตระกูล ณ สงขลา) เชื้อสายของตระกูลนี้ได้ปกครองเมืองสงขลาติดต่อกันมาไม่ขาดสายถึง 8 คน (พ.ศ.2318-2444) จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2379 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) โปรดเกล้าให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ก่อสร้างป้อมกำแพงเมือง ระหว่างที่ก่อสร้าง ตวนกู อาหมัดสะอัด ชักชวนหัวเมืองไทรบุรี ปัตตานี และหัวเมืองทั้ง 7 ยกมาตีสงขลา เมื่อปราบปรามขบถเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างป้อม และกำแพงเมืองสงขลาจนเสร็จ และได้จัดให้มีการฝังหลักเมืองและได้ย้ายเมืองสงขลามายังฝั่งตะวันออกของ แหลมสน "ตำบลบ่อยาง" คือ ในเขตเทศบาลนครสงขลา ปัจจุบัน ครั้นถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น และได้ส่งพระวิจิตรวรสาสน์ (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ในปี พ.ศ.2438 เป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ.2439 จึงได้จัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ.2439-2458) และเป็นที่ตั้งศาลาว่าการภาคใต้ (พ.ศ.2458-2468) นอกจากนี้เมืองสงขลาเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงลพบุรีรา เมศวร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลและอุปราชภาคใต้ จนสิ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นถึงปี พ.ศ.2475 ได้มีการยุบมณฑลและภาค เปลี่ยนเป็นจังหวัด สงขลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยวในสงขลา

0

สะพานติณสูลานนท์


สะพานติณสูลานนท์เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยมีความยาวถึง 2.6 กม. สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 4146 ซึ่งเชื่อมทางหลวงหมายเลข 407 (หาดใหญ่-สงขลา) กับทางหลวงหมายเลข 4083 (สงขลา-ระโนด) โดยมีจุดเริ่มต้นพื้นที่บ้านน้ำกระจาย ผ่านมายังเกาะยอ เชื่อมต่อไปยังเขาน้อยบนอีกฝั่งของแผ่นดิน

สะพานติณสูลานนท์ประกอบด้วย 2 ส่วน โดยส่วนแรกอยู่ที่บ้านน้ำกระจาย เชื่อม อ.เมืองสงขลาเข้ากับชายฝั่งด้านทิศใต้ของเกาะยอ มีความยาว 940 เมตร ส่วนที่สองเชื่อมชายฝั่งทางทิศเหนือของเกาะยอดเข้ากับบ้านเขาน้อย โดยส่วนนี้มีความยาว 1,700 เมตร

เกาะยอ



เกาะยอเป็นเกาะเล็กๆในทะเลสาบสงขลา โดยห่างจาก อ.เมืองสงขลา 10 กม. และห่างจาก อ.หาดใหญ่ 20 กม. การเดินทางเข้ามายังเกาะยอสามารถทำได้โดยข้ามสะพานติณสูลานนท์ เสน่ห์ของเกาะยอคือความสวยงามของพรรณไม้ ผ้าทอเกาะยอ รวมทั้งมีวัดเก่าแก่ 2 แห่งคือ วัดเขาบ่อ และวัดท้ายยอ

หาดสมิหลา


หาดสมิหลาเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาว ต่างประเทศ หาดสมิหลาตั้งอยู่ใน อ.เมืองสงขลา โดยมีลักษณะเป็นหาดทรายขาว อยู่ภายใต้ร่มเงาของป่าสน ตลอดชายฝั่ง

หาดสมิหลาอยู่ห่างจากตลาดเทศบาลเป็นระยะ 2.5 กม. จากแหลมสมิหลา เราสามารถมองเห็นแหลมสนอ่อนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และหาดชลาทัศน์ทางทิศไต้ ในวันที่อากาศแจ่มใส เราอาจมองเห็นไปถึงเขาเก้าเส้ง สิ่งที่เป็นจุดดึงดูดของหาดสมิหลาคือรูปปั้นนางเงือก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสงขลาด้วย

แหลมสนอ่อน


แหลมสนอ่อนเป็นแหลมที่อยู่บนพื้นที่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของหาดสมิหลา ก่อนจะเข้าถึงแหลมสนอ่อนจะพบกับต้นสนนับร้อยทั้งสองข้างของถนน ตรงขอบของแหมจะเป็นที่ตั้งของรูปปั้นกรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ และเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทิศน์อันสวยงามของสถานที่โดยเฉพาะตอนพระ อาทิตย์ขึ้น

จากแหลมสนอ่อน เราสามารถมองเห็นเกาะหนู-เกาะแมวได้ในจุดที่ใกล้ที่สุด นอกจากนี้บริเวณใต้ร่มต้นสนนักท่องเที่ยวสามารถหาซื้ออาหาร ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มได้จากแผงลอยที่มีจำนวนมาก

เก้าเส้ง


เก้าเส้งอยู่ห่างจากไปทางใต้ 3 ก.ม. จากแหลมสมิหลา และนับเป็นหนึ่งในชายหาดที่สวยงามที่สุดของจังหวัดสงขลา โดยจะมีโขดหินจำนวนมากอยู่ตามแนวชายฝั่ง และจะมีโขดหินอันหนึ่งที่อยู่เหนือหน้าผาและโดดเด่นเป็นพิเศษ ซึ่งชาวบ้านแถบนั้นเรียกกันว่า "หัวนายหรั่ง" โดยจะมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณว่ามีสมบัติมูลค่าประมาณเก้าแสนบาท ฝังอยู่ข้างใต้โขดหินนั้น และชื่อ "เก้าเส้ง" ก็มาจากคำว่า "เก้าแสน" นั่นเอง

เกาะหนู-เกาะแมว


เกาะหนู-เกาะแมว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่ออีกแห่งของจังหวัดสงขลา โดยมันจะอยู่ใกล้ๆกับหาดสมิหลาและแหลมสนอ่อน ชื่อเรียก เกาะหนู-เกาะแมว เป็นคำที่เรียกกันมาแต่โบราณ โดยมาจากรูปร่างของเกาะสองเกาะที่คล้ายๆกับหนูและแมว นอกจากนี้ ตามริมน้ำชายฝั่งของเกาะยังเป็นที่ชื่นชอบของนักตกปลาในท้องถิ่น

สวนสัตว์สงขลา


สวนสัตว์สงขลาตั้งอยู่ที่ถนนหมายเลข 189 หรือถนนสงขลา-จะนะ ที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมันเป็นสวนสัตว์เปิดที่เป็นที่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิด ทั้งสัตว์พื้นเมืองและสัตว์จากต่างประเทศ โดยมีทั้งนก อูฐ กระทิง เสือ จระเข้ ฯลฯ

สวนสัตว์แห่งนี้นอกจากเป็นแหล่งรวมของสัตว์ป่าหลากหลายชนิดแล้ว ยังเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของจังหวัดสงขลาจากบน เขาอีกด้วย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้ออาหารและเครื่องดื่มได้ไม่ยาก

ถนนนางงาม ถนนเส้นงามของสงขลา

0

เก็บภาพมาฝาก
ถนนนางงาม ถนนเส้นงามของสงขลา



ย่าน นี้มีของอร่อยเพียบ มีเค๊กอินโดนีเซียน ขนมสัมปันนี
ทุเรียนกวนย่าง ขนมขี้มอด ขนมทองเอก
และอื่นๆอีกมากมาย



ย่าน เก่าแก่ บ้านเรือนแปลกตา


บ้านสวย ดูเพลิน เิดินเล่นสบาย

และเป็น ย่านที่มีศาลเจ้าสีแดงๆอยู่เต็มไปหมด



ของ ข้างในศาลเจ้า ก็มีแต่สีแดง





โรง งิ้วในศาลเจ้า เห็นโต๊ะเก้าอี้เล็กๆใต้โรงงิ้วไหม นั่นคือร้านก๋วยเตี๋ยวจิ๋ว เด็กๆคงนั่งกินกันสบาย



สี กำแพงบ้าน ตัดกับสีกำแพงศาลเจ้า เขียวสดใส



โหล กะหรี่ปั้ป ท่าทางน่ากิน วางขายคู่กันในร้านซาลาเปา



เดิน ไปเดินมา เจอะบ้านคน บ้า ศิลปะ ไม่รู้ว่าจงใจทำตัว น หายรึเปล่า



ใน ความเก่า มีความงาม และความหมาย


เจอกล่อง ไปรษณีย์สีฟ้า น่ารัก

เที่ยวใน เมืองสงขลา อิ่มใจ อิ่มตา และอิ่มพุง

ถนน นางงาม..สงขลา

0

มีถนนสายหนึ่งในตัวเมืองสงขลาที่"น่าสนใจ"


นั่นคือ"ถนนนางงาม" ซึ่งเป็นย่านเมืองเก่าในจังหวัดสงขลา ซึ่ง"ดัง"คู่กับย่าน เมืองเก่าอีก 2 สาย คือถนนนครนอก และถนนนครใน
ถนนทั้ง 3 สายมีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิกสไตล์ "ชิ โน-โปรตุกีส"(หลายคนคงคุ้นจากเมืองภูเก็ต) และยังเป็นถนนที่มีขนมอร่อยๆทั้งของไทย จีน ฝรั่ง ให้เลือกชมและชิมอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ


หลายคนอาจจะอยากรู้เรื่อง"ชื่อ"ของ"ถนนนางงาม" ว่านางงามอะไร? ใครคือนางงาม? และทำไมกลายมาเป็นตำนานของถนนชื่อน่ารักสายนี้
เดิมถนนสายนี้ ชื่อ"ถนนเก้าห้อง" และถูกเรียกเป็น "ถนนนางงาม"


คนเก่าแก่จะเล่าว่า คนที่เป็นเจ้าของ"ชื่อถนน"คือคุณ กมลทิพย์ สุดลาภา ชาวสงขลาที่เกิดและเติบโตย่านถนนสายนี้ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียน"วรนารีเฉลิม" โรงเรียนสตรีคู่เมืองสงขลา และครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยครูสวนดุสิต และแต่งงานกับคุณเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าฯหลายจังหวัด


แต่ดร.ศรี สุพร ช่วงสกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา" ระบุว่า "ถนน เก้าห้อง" มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2385 ถูกเรียกขานเป็น "ถนนนาง งาม" หลังปี 2478 เพราะเป็นปีที่จังหวัดสงขลาเริ่มจัดงานปีใหม่และงานฉลองรัฐธรรมนูญ และมีประกวดนางงามสงขลาเป็นปีแรก
ประวัติศาสตร์ระบุว่า นางงามสงขลาคนแรก เป็นสาวงามจากถนนเก้าห้อง คือ คุณนงเยาว์ โพธิสาร (นามสกุลเดิม "บุญยะศิวะ") ทำให้ชาวสงขลา(พร้อมใจกัน)เรียก"ถนนเก้าห้อง" ว่า"ถนน นางงาม" ตั้งแต่นั้น


อีกตำนานระบุว่า ชื่อ "นางงาม" อาจเพี้ยนเสียงมาจาก "นา งาม" เพราะบริเวณนี้เคยเป็นท้องนามาก่อน และพัฒนาเป็นย่านการค้าของสงขลา มีเรือสินค้ามาขึ้นฝั่งคึกคักมา โดยมีโรงชื่อดังที่สุดคือ"โรงสีแดง" หรือ"โรงสี หับโห้หิ้น" เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยนแปลว่า เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง
(ชื่อนี้ถูกบริษัทหนังเอาไปใช้)

จำนวนสุดท้าย ระบุว่า "ถนนนางงาม" อาจจะมาจากการที่บริเวณดังกล่าวเป็นถนนเริงรมณ์ มีหญิงงามบริการ (แต่ข้อนี้ไม่มีการยืนยัน)

ไม่ว่า"ตำนานชื่อ"จะมาจากไหน ไปสงขลาครั้งหน้า ผมแนะนำให้ไปเดินเที่ยว"ถนนนางงาม" จะอิ่มท้อง อิ่มใจ ครับ

เปิดตำนาน หับ โห้ หิ้น จากโรงสี สู่บริษัทหนัง

0

ถนนนางงาม น่าจะหมายถึงถนนเริงรมณ์มีหญิงงามบริการน่ะครับ มิใช่มีนางงาม
(รู้มาเช่นนี้ หากผิดพลาดขอให้ผู้รู้แก้ไขด้วย)

โรงสีแดงหรือโรงสีหับโห้หิ้น เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง มีนายสุชาติ รัตนปราการ นักเรียนปีนัง เป็นคนออกแบบ โรงนี้แห่งนี้ตั้งมานานแล้ว รับข้าวเปลือกมาจากระโนด มีคนงานเชื้อจีนกว่า 10 คน เปิดเครื่องสีข้าวทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข้าวที่สีเสร็จจะส่งไปขายแถวจังหวัดภาคใต้ นราธิวาส ตรังกานู มาเลเซีย ปิดกิจการไปตั้งแต่หลังสงครามโลก ปัจจุบันไม่ได้เป็นโรงสีข้าวแล้ว

เปิดตำนาน หับ โห้ หิ้น จากโรงสี สู่บริษัทหนัง



"หับ โห้ หิ้น" ใครได้ยินชื่อนี้ ต้องนึกถึงบริษัทหนังชื่อดัง ซึ่งจับมือกับค่ายยักษ์อย่างแกรมมี่ และ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในนาม "จีเอ็มเอ็ม-ไท-หับ" ฝากผลงานชิ้นเอกประดับโลก

เซลลูลอยด์เมืองไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น "แฟนฉัน" "15 ค่ำ เดือน 11" "มหา’ลัยเหมืองแร่" "เพื่อนสนิท" ฯลฯ แต่สำหรับชาวสงขลาย่านเมืองเก่า "หับ โห้ หิ้น" คือโรงสีข้าวเก่าแก่ในตัวอาคารสีแดงแรงฤทธิ์ ที่ยังคงความขลังอย่างคลาสสิกบนถนนนครนอก

แต่ทำไม ต้อง "หับ โห้ หิ้น" ชื่อนี้เป็นภาษาอะไร แปลว่าอย่างไร? น่าสนใจยิ่งนัก

วิทยานิพนธ์ของ ดร.ศรีสุพร ช่วงสกุล แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา" ระบุไว้ตอนหนึ่ง ว่าย่านเมืองเก่าสงขลา เขต ต.บ่อยาง เป็นบ้านเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี 2385 มีถนนสายหลักคือ นครนอก นครใน และ ถนนเก้าห้อง (ภายหลังเรียกถนนนางงาม) เศรษฐกิจของสงขลาระยะนั้น ขับเคลื่อนโดยกลุ่มพ่อค้าเชื้อสายจีนหลายตระกูล เช่น ณ สงขลา รัตรสาร รัตนปราการ โคนันทน์ เงารังษี เลขะกุล ฯลฯ ทำธุรกิจค้าขายกับเกาะปีนัง รวมทั้งมีกิจการโรงสี รองรับผลผลิตข้าวจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอันอุดมสมบูรณ์

ในจำนวนนั้น มีโรงสีหับ โห้ หิ้น ที่ขุนราชกิจจารี (ต้นตระกูลเสาวพฤกษ์) ร่วมหุ้นกับตระกูลโคนันทน์ ตั้งขึ้นราวปี 2454 ต่อมาในปี 2468 นายสุชาติ รัตนปราการ หนุ่มนักเรียนปีนัง หลานตาของท่านขุนเข้ามาดำเนินกิจการแล้วซื้อหุ้น โดยไปกู้เงินใส่กระสอบแบกทูนมาจ่ายให้หุ้นส่วน จนโรงสีหับ โห้ หิ้น ตกเป็นของนายสุชาติเพียงผู้เดียว แล้วด้วยความที่เป็นนักเรียนนอกหัวก้าวหน้า นายสุชาติพัฒนาโรงสีโดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์พลังไอน้ำ คือการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไอน้ำไปสีข้าว นับว่าทันสมัยมากในยุคนั้น ตามประวัติว่านายสุชาติลงมือเขียนจดหมายไปสั่งซื้อเครื่องนี้โดยตรงจาก อังกฤษทีเดียว

ต้นตระกูล "รัตนปราการ" เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน "แซ่ก๊วย" จากมณฑลฮกเกี้ยน อพยพมาตั้งรกรากที่สงขลา ตั้งแต่ราวปี 2250 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา คำว่า "ก๊วย" แปลว่ากำแพงเมือง จึงเป็นที่มาของนามสกุล "รัตนปราการ" แปลว่า "กำแพงแก้ว"

ส่วนชื่อโรงสี "หับ โห้ หิ้น" เป็นภาษาฮกเกี้ยน มีผู้แปลความว่าหมายถึง เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง สอดคล้องกับความเห็นของ อาจารย์สุขสันต์ วิเวกเมธากร ผู้เชี่ยวชาญจีนศึกษา เจ้าของนามปากกา "เล่าชวนหัว" และเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาจีน "สุขสันต์วิทยา" ที่ว่า "หับ" ในภาษาจีนฮกเกี้ยน น่าจะตรงกับคำว่า "ฮะ" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่แปลว่า ความสามัคคี สมานฉันท์ ส่วน "โห้" น่าจะตรงกับ "ฮ่อ" หมายถึง ความดี ความเจริญรุ่งเรือง

แต่ "หิ้น" อาจจะเป็นคำนาม หมายถึง สวน หรือที่ที่มีคนมาชุมนุมกัน รวมความแล้ว "หับ โห้ หิ้น" ในทัศนะอาจารย์สุขสันต์ ควรจะแปลว่า "สวนสมานฉันท์อันเจริญรุ่งเรือง"

นายสุชาติ รัตนปราการ ดำเนินกิจการโรงสีหับ โห้ หิ้น จนเจริญรุ่งเรืองสมชื่อ โดยรับข้าวเปลือกจากย่านระโนด หัวไทร พัทลุง บรรทุกลงเรือเอี้ยมจุ๊นใช้ใบล่องทะเลสาบสงขลามาเทียบท่าเรือด้านหลังโรงสี มีคนงานเชื้อสายจีนราว 10 คน เปิดเครื่องสีข้าวทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข้าวที่สีเสร็จส่งไปขายนราธิวาส เลยไปถึงมาเลเซีย แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ก็เลิกกิจการไป "หับ โห้ หิ้น" โรงสีแดงแห่งถนนนครนอก จึงกลายเป็นตำนานในความทรงจำของชาวสงขลา

หลังจากนั้น นายสุชาติไปมีบทบาทสำคัญในการแปลงผืนป่าบ้านคลองแงะ อ.สะเดา จ.สงขลา ให้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โดยใช้ที่ดินราว 600 ไร่ ซึ่งมารดา นางกอบกุล รัตนปราการ ได้รับสืบทอดจากขุนราชกิจจารี มาทำประโยชน์ให้ชุมชน ทำให้คลองแงะมี "ถนนกอบกุลอุทิศ" มี "วัดกอบกุลรัตนาราม" มี "โรงเรียนกอบกุลวิทยาคม" ฯลฯ เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำตราบจนวันนี้ (จากหนังสือ "จีนทักษิณ วิถีและพลัง" โดย ศ.สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และคณะ)

ส่วนโรงสีแดง หับ โห้ หิ้น บนถนนนครนอก ทายาทตระกูลรัตนปราการก็อนุรักษ์ไว้เป็นอนุสรณ์เช่นกัน วันที่ผมแวะเข้าไปชมโรงสีนี้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พบว่าพื้นที่ส่วนท่าเรือที่เคยเป็นท่าข้าวเปิดให้เช่าเป็นแพปลา ภายในโรงสีที่ว่างเปล่ากลายเป็นลานจอดรถ และทราบว่าเคยเป็นสถานที่ถ่ายทำหนังบางเรื่อง เช่น "ฟอร์มาลีน แมน-รักเธอสุดหัวใจ" แสดงนำโดย เอกชัย ศรีวิชัย นักร้องลูกทุ่งชื่อดังชาวปักษ์ใต้ ส่วนตัวอาคารด้านนอกทาสีแดงสดใสใหม่ แต่ยังเห็นปล่องโรงสีเก่าสมชื่อ "โรงสีแดง" ที่ชาวสงขลาเมืองเก่ารู้จักกันดี

ทราบว่าปีหน้า นายกเทศบาลนครสงขลา-คุณอุทิศ ชูช่วย จะพัฒนาถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม เป็นถนนสายวัฒนธรรม ถึงวันนั้น โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ก็จะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของถนน ทำให้เยาวชนและคนต่างบ้านต่างเมืองเรียนรู้ตำนานเมืองเก่าสงขลาได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น จึงควรที่ตระกูลรัตนปราการจะได้รับคำขอบคุณที่รักษาโรงสีของตระกูลไว้เพื่อ คนรุ่นหลัง

ถนนนางงามสงขลา และเมืองคนงามบ้านโป่ง งามสมคำรำลือครับ

0

ไขปริศนา "ถนนนางงาม" อร่ามเรืองเมืองสงขลา

"ไปถึงสงขลา อย่าลืมแวะไปเดินย่านเมืองเก่าแถวถนนนางงามนะครับ พี่ต้องชอบแน่ๆ"

เสียงกำชับจาก จารุภัทร วิมุตติเศรษฐ์ เมื่อรู้ว่าผมจะสัญจรสู่สงขลา เขาเป็นหนุ่มนักทำสารคดีที่มีบ้านเกิดอยู่เหนือสุดที่เชียงราย แต่เป็นผู้เขียนหนังสือ "นายรอบรู้" ฉบับ "สงขลา" แดนดินถิ่นใต้เกือบสุดปลายด้ามขวาน ซึ่งระบุว่าย่านเมืองเก่าสงขลามีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม เพราะมีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิกสไตล์ "ชิโน-โปรตุกีส" และขนมอร่อยๆ ทั้งของไทย จีน ฝรั่ง ให้เลือกชมและชิมอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ แต่ที่สงสัย คือมีถนนนครนอก กับถนนนครใน แล้วอยู่ดีๆ ทำไมมี "ถนนนางงาม" ขึ้นมาได้ นางงามอะไร? ใครคือนางงาม? ผู้กลายมาเป็นตำนานของถนนที่น่ารักสายนี้
ย้อนอดีตกลับไปราว 200 ปีก่อน ตัวอำเภอเมืองสงขลาไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้หาดสมิหลาเช่นในปัจจุบัน ถ้าดูจากแผนที่จะเห็นสงขลาเป็นจังหวัดที่มีรูปร่างแปลก เพราะมีทะเลสาบสงขลาคั่นกลาง เดิมตัวเมืองสงขลาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า "เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน" จนกระทั่ง พ.ศ.2385 จึงขยับขยายมาฝั่งตรงข้าม บริเวณตำบลบ่อยาง เรียกว่า "เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง" โดยเริ่มแรกมีถนนสองสายคือ "นครนอก" หรือถนนเส้นนอกติดทะเลสาบ กับ "นครใน" หรือถนนเส้นใน ต่อมามีการตัดถนนสายที่สามเพื่องานสมโภชเสาหลักเมือง เรียกกันว่า "ถนนเก้าห้อง" หรือ "ย่านเก้าห้อง" เพราะอาคารแรกบนถนนสายนี้มี 9 คูหา หรือ 9 ห้อง
แต่ทำไม "ถนนเก้าห้อง" กลายไปเป็น "ถนนนางงาม" ไปได้?
บ่ายวันนั้น ผมเก็บงำความสงสัยไว้ในใจ ขณะเดินลัดเลาะไปตามซอกซอยของถนนนางงาม ซึ่งเป็นถนนสายสั้น รถราไม่พลุกพล่าน ชวนให้เดินทอดน่องท่องอดีต พบอาแปะขาย "การอจี๋" ขนมเก่าแก่ของคนจีน อยู่แถวศาลเจ้าพ่อกวนอูมานานนับ 40 ปี พบหอพักที่เป็นตึกเก่าสไตล์ "ชิโน-โปรตุกีส" งามสง่าบนถนนเชื่อมระหว่างถนนนางงามกับนครใน พบ "โรงแรมนางงาม" โรงแรมไม้เก่าแก่ประดับลายฉลุไม้วิจิตรตา ด้านหน้ามี "อาเคด" (Arcade) หรือทางเดินมีหลังคาคลุม คุ้มแดดคุ้มฝนเหมือนอาคาร "ชิโน-โปรตุกีส" แถวภูเก็ต พังงา แต่น่าเสียดายที่โรงแรมปิดกิจการไปเสียแล้ว
แวะร้านริมทาง ชิม "ข้าวฟ่างกวน" แก้หิว นี่คือขนมเก่าแก่ของชาวสงขลา ใส่ถาดขายคู่กับ "ข้าวเหนียวดำกวน" ชอบใจตรงที่ไม่หวานเกิน และคุณพี่เจ้าของร้านก็ไม่ได้ทำมากๆ ไปส่งขาย แต่ทำพอขายเองที่หน้าบ้านเป็นการสืบทอดฝีมือทำขนมของคุณยาย คุยไปคุยมา เค้าลางของ "นางงาม" เริ่มฉายแวว เมื่อผมลองถามถึงที่มาของชื่อถนนสายนี้
คุณพี่บอกไม่ทราบเหมือนกัน รู้แต่ว่ามีญาติของเธอคนหนึ่งสวยระดับนางงามทีเดียว แล้วตอนเด็กๆ ก็อยู่บ้านติดกันนี่เอง ว่าแล้วก็หยิบหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพสุภาพสตรีท่านหนึ่งให้ผมดู เป็นหนังสืองานศพที่สวยที่สุดเล่มหนึ่งที่ผมเคยเห็น สุภาพสตรีท่านนั้นคือคุณกมลทิพย์ สุดลาภา ชาวสงขลาที่เกิดและเติบโตย่านถนนนางงาม ศิษย์เก่า "วรนารีเฉลิม" โรงเรียนสตรีคู่เมืองสงขลา และครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยครูสวนดุสิต ก่อนพบรักกับคุณเชาวน์วัศ สุดลาภา ท่านผู้ว่าฯ ที่สร้างผลงานดีเด่นในหลายจังหวัด คุณกมลทิพย์เกษียณอายุราชการ ปี 2539 ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ก่อนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2544
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความสวยระดับนางงามของคุณกมลทิพย์ ช่างคู่ควรกับการเป็นชาวสงขลาแห่ง "ถนนนางงาม" เสียเหลือเกิน
อย่างไรก็ตาม ดร.ศรีสุพร ช่วงสกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา" กรุณาให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า "ถนนเก้าห้อง" ซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2385 ถูกเรียกขานเป็น "ถนนนางงาม" หลังปี 2478 เป็นต้นมา เพราะปีนั้นจังหวัดสงขลาเริ่มจัดงานปีใหม่และงานฉลองรัฐธรรมนูญ พร้อมกับการประกวดนางงามสงขลาเป็นปีแรก ตามนโยบาย "คณะราษฎร" ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ปรากฏว่ามีสาวงามจากถนนเก้าห้อง คือ คุณนงเยาว์ โพธิสาร (นามสกุลเดิม "บุญยะศิวะ") ชื่อเล่น "แดง" ได้รับรางวัลจากการประกวดครั้งนั้นด้วย
ชาวสงขลาจึงเรียก "ถนนเก้าห้อง" ว่า "ถนนนางงาม" กันติดปากมานับจากนั้น
แต่ก็ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นอีกว่าชื่อ "นางงาม" อาจเพี้ยนเสียงมาจาก "นางาม" เพราะบริเวณนี้เคยเป็นท้องนามาก่อน หรืออาจจะมาจากการที่ย่านนี้เคยเป็นย่านการค้าของสงขลา มีเรือสินค้ามาขึ้นฝั่งคึกคัก จึงเป็นย่านหญิงงามเมืองด้วย จึงเรียกกันว่า "ถนนนางงาม" แต่ข้อสันนิษฐานนี้ ดร.ศรีสุพร กล่าวว่า มีน้ำหนักน้อยมาก เมื่อเทียบกับเหตุผลแรก
แต่ไม่ว่าจะมีที่มาอย่างไร "ถนนนางงาม" ในวันนี้ ก็ยังสงบงามและคลาสสิก เคียงคู่ถนนนครนอก-นครใน ย่านเมืองเก่าสงขลา แม้มิได้ตีตรา "มรดกโลก" เฉกเช่น "หลวงพระบาง" ในลาว หรือ "ฮอยอัน" ในเวียดนาม แต่ก็ควรค่าแก่การชื่นชมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
(ล้อมกรอบท้ายเรื่อง)
ชมรมท่องอุษาคเนย์ ขอเชิญ "ท่องอารยธรรมเส้นทางสายไหม" วันที่ 16-25 ก.ย. สวัสดีเชียงตุง ชักพระออกพรรษาอินเล (พม่า) วันที่ 5-8 ต.ค. "สู่เมืองแมนที่ปลายฟ้า ลี่เจียง-แชงกรีล่า" วันที่ 20-24 ต.ค. นำชมโดย ธีรภาพ โลหิตกุล สำรองที่นั่ง 0-2637-7321-2, 0-1823-7373
คำอธิบายภาพ
นางงาม -1. ประตูเมืองเก่าสงขลา ทางเข้าสู่ถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม
นางงาม -2 ป้ายซอยบนถนนนางงาม ประดับรูปนางเงือกแห่งหาดสมิหลา นางงาม -3 คุณกมลทิพย์ สุดลาภา สาวงามชาวสงขลา ผู้เกิด และเติบโตที่บ้านย่าน ถนนนางงาม
นางงาม -4 อาคารเก่าแก่บนถนนนางงาม ยังหลงเหลือร่องรอยความงามในอดีตให้เห็น สังเกตว่ายังมีสามล้อ ซึ่งคนสงขลาแต่ก่อนเรียก "แท็กซี่" ส่วนรถยนต์เรียก "ล่อหลี่"
นางงาม -5. ลวดลายฉลุไม้วิจิตรตาที่ "โรงแรมนางงาม"
นางงาม -6. อาคารเก่าแก่สไตล์ "โคโลเนียล" ปัจจุบันเป็นหอพักสตรี

และที่อำเภอ บ้านโป่ง จ.ราชบุรี อำเภอนี้ถูกเรียกขนานนามว่า “เมืองคนงาม” ดังคำขวัญของ จ.ราชบุรี ที่ว่า คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
ฑีพัตรยศ สุดลาภา (ลูกหิน) ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี คุณแม่ของผมเป็นชาวมอญ(รามัญ) เพราะคุณตา กับคุณยายเป็นชาวรามัญทั้ง 2 ฝ่าย (คุณแม่นามสกุล ติเยาว์) และเล่าให้ฟังว่าสมัยเมื่อหลายร้อยปีก่อน ตระกูลทางคุณแม่ของผมนี้ได้เดินทางมาจาก กรุงหงสาวดี
แล้วเดินทางเข้ามาอยู่ใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และที่บ้านของผมยังมีประเพณีประจำตระกูลก็คือการนับถือ ผีมอญ และก็มีความเคร่งในศาสนสพุทธ จากความเชื่อเรื่องผีมอญ(ผีตระกูลหรือผีบรรพบุรุษนี้ทำให้เกิดการมี
ประเพณี รำผีมอญ
มูลเหตุของการรำผีมอญ เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ชาวมอญมีผีรักษา หรือผีประจำคระกูลเรียกเป็นการทั่วไปว่า “ผีมอญ” ซึ่งผีนี้มีหน้าที่คอยปกปักรักษาสมาชิกในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามล่วงละเมิดหรือ “ทำผิดผี” ด้วยประการทั้งปวงเช่น ห้ามคนตั้งครรภ์ที่ไม่ใช่ลูกสาวของเจ้าเรือนนอนในเรือน ห้ามคู่สามีและภรรยาที่ไม่ได้อยู่ร่วมผีเดียวกันกับเจ้าเรือน ร่วมหลับนอนในเรือน ห้ามเจ้าเรือนกินอาหารร่วมสำรับกับแขกผู้มาเยือน ฯลฯ
การ”ผิดผี” จะส่งผลให้คนในบ้านเกิดเจ็บไข้ไม่สบาย เมื่อหมอดูทำนายว่าเป็นเพราะผู้ กระทำ ก็จะจัดหาวันเพื่อทำพิธีรำผีมอญ ซึ่งก็คือกระบวนการแสดงขอขมา หรือลุโทษแก่โทษ ที่ได้กระทำล่วงเกินผีนั่นเอง ชาวมอญราชบุรี ไม่ทำพิธีรำผีมอญบ่อยครั้งนัก หากเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง เนื่องจากการรำผีมอญแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก อีกประการหนึ่งเป็นการประกาศว่า บ้านเรือนหลังนี้ ได้มีผู้ทำผิดผี จึงได้เกิดการรำผีมอญเกิดขึ้น ดังนั้นวิธีการเลี่ยงที่ดีและง่าย คือการปฏิบัติกิจของคนในครอบครัวมิให้ผิดผี ซึ่งเท่ากับเป็นการคุมพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบของความเหมาะควร เมื่อทุกคนเคารพ ถือผีของกันและกัน ก็คือการเคารพหลักให้อยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง การนับถือผีของชาวมอญจึงเป็นเรื่องที่มีเหตุผล และเคารพยึดถืออยู่ตลอด

ประวัติและความเป็นมา
ชาวมอญ เรียกแผ่นดินตนเองว่า”รามัญประเทศ” และส่วนคำว่า”รามัญ” นั้นมาจากภาษาบาลีว่า ”รามญญ” ในปัจจุบันที่ชาวไทย-มอญ ตั้งหลักแหล่งเป็นกลุ่มใหญ่ ได้แก่อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รองลงมาคือ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และในจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนในตอนเหนือจะพบในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ นอกจากนั้นยังมีกระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ อยู่ในจังหวัด สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ปราณบุรี เป็นต้น

ความเป็นมาของมอญราชบุรี ชาวมอญราชบุรีนั้นนับถือพุทธศาสนาตั้งแต่อยู่ในประเทศพม่า โดยมีหงสาวดีเป็นเมืองหลวง ครั้นเมื่อหนีภัยมาอยู่ในแดนสยาม การนับถือพระพุทธศาสนาก็ยังคงมั่นเมื่อปักหลักรวมพลตั้งเป็นชุมชนขึ้นที่ใด ก็มักจะสร้างวัดเป็นศุนย์รวมใจ เช่นเดียวกับชาวมอญรุ่มแม่น้ำแม่กลอง หลักฐานการสร้างวัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง-- -โพธาราม ว่ามีการสร้างเมื่อในปี พ.ศ 2223 ต่อมาได้ค้นพบในคัมภีร์หมายเลข 321
ขึ้นที่วัดม่วง ความนั้นว่าผู้จารึกชื่ออุตตมะ เป็นชื่อขณะที่ยังเป็นพระ จารึกเอาไว้ในวัดม่วง แล้วเสร็จเมื่อตะวันบ่าย วันศุกร์ แรม 6 ค่ำ “ศักราช1000” หรือ พ.ศ2181 ตัวเลขศักราชที่เป็นทางการว่าวัดม่วงสร้างเมื่อ พ.ศ 2223 กับที่ค้นพบใหม่คือ พ.ศ2181 นั้นต่างกัน หากศักราชใหม่เป็นจริงนั้นแสดงว่า วัดม่วงบ้านโป่งต้องสร้างมาก่อนปีพ.ศ2181 เพราะอย่างน้อยต้องมีวัดมาแล้วก่อนที่จะมีพระภิกษุชื่อ อุตตมะมาจารึกไว้ในใบลาน แต่ประเด็นสำคัญก็คือ ชาวมอญได้ร่วมกันสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ และวัดก็ได้มีบทบาทต่อสังคมของชาวมอญเสมอมา ภายหลังที่ชาวมอญจากถิ่นอื่นๆเช่น จากกรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ มาอยู่อาศัยร่วมกับชาวมอญยุคบุกเบิก โดยมาอาศัยอยู่ในหมู่เครือญาติ มาแต่งงานเป็นเขย หรือเป็นสะใภ้กับชาวมอญด้วยกัน รวมถึงการหนีภัยสงครามจากการทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 จึงทำให้ชาวมอญรุ่มแม่น้ำแม่กลองขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาเมื่อมีการคมนาคมและระบบชลประทานมรการพัฒนามากขึ้น เช่น การตัดถนนเข้าสู่ชุมชน การสร้างทางรถไฟผ่าน การสร้างเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวมอญราชบุรีในเขตบ้านโป่ง และโพธาราม มีคนในชุมชนออกไปทำงานรับจ้างนอกท้องถิ่น และมีคนต่างท้องถิ่นเข้ามาอยู่ในชุมชน แต่ ชาวมอญ โดยเฉพาะที่บ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง และตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม
เป็นแหล่งชุมชนที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมอญไว้ได้อย่างค่อนข้างมาก
ชุมชนบ้านม่วงนี้มีวัดม่วงเป็นศูนย์กลาง วัดม่วงเจริญมากเพราะมีหลวงปู่เข็มเป็นองค์อุปัชฌาย์ตอนนั้นองค์เดียว ชาวมอญ ชาวกระเหรี่ยงตอนเหนือลุ่มแม่น้ำแม่กลองขึ้นไปจนถึงเมืองกาญจนบุรีล่องแพมา บวช บางคนก็มาหาเจ้าภาพชาวบ้านม่วงให้บวชให้ ตนลาวจากหนองปลาหมอ และชาวมอญสองฝั่งตอนบนก็บวชที่วัดม่วงกัน
ศรัทธาสองฟากฝ่าย ชาวมอญราชบุรีนั้นเฉกเช่นชาวไทยทั่วๆไปที่มีความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องผี ขนานไปกับการนับถือพุทธศาสนาแต่ในกรณีของชาวมอญแล้ว ดูเหมือนว่าความเชื่อทั้งสองประการจะเข้มไปคนละแบบ เพรากิติศัพท์ในเรื่องของพระมอญเคร่งพระวินัยเป็นที่เรื่องลือคงความ สมณสารูปไว้ได้มาก ถึงขั้นกล่าวกันว่า เป็นแบบอย่างให้เกิดธรรมยุติกนิกายในช่วงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ครั้นเมื่อตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นแล้ว มีพระภิกษุชาวมอญ คือพระไตรสรณธัช (เย็น) นำไปเผยแพร่ที่เมืองมอญอีกทอดหนึ่ง
ชาวมอญราชบุรี ในท้องที่บ้านโป่งและโพธารามเองยังศรัทธามั่นคง เข้าวัด ทำบุญอยู่เสมอมา กิจการงานใดที่เนื่องด้วยพระศาสนาก็ร่วมแรงแข็งขันเป็นอันดี การปฏิบัติต่อพระสงฆ์นั้น ถือเสมือนป็นบุคคลพิเศษ อุบาสก
อุบาสิกาผู้สูงวัยชาวมอญ ราชบุรี ยังเลี่ยงที่จะเหยียบหรือยืนทับเงาของพระสงฆ์ ความใส่ใจในสิ่งอันละเอียดอ่อนเช่นนี้ สื่อให้เห็นจรรยามารยาทของกลุ่มชนที่ได้รับการอบรมทางด้านศีลธรรมมาเป็น อย่างดี
ส่วนศรัทธาในอีกฝ่ายนั้น ชาวมอญราชบุรียังคงนับถือผีมอญ ซึ่งจำแนกได้เป็นหลายอย่าง เช่น ผีบรรพบุรุษ ผีตระกูล ผีเมีย ผีครูอาจารย์ ผีลูกหลาน ฯลฯ ตลอดจนผีไร้ญาติ ด้วยเหตุนี้ชาวมอญจึงนำเรื่องผีมาเป็นเรื่องจำแนก เพื่อจัดระเบียบคนในสังคมตนเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชาวมอญถือหลักความเชื่อเรื่องผีมาเป็นเกณฑ์ในการนับเครือญาติที่ร่วมถือผี เดียวกัน ถือผีต่างกัน ซึ่งวิธีการนี้น่าจะมีมาก่อนพุทธศาสนาจะเผยแพร่เข้าไปในหมู่ชาวมอญ

ความเชื่อศาสนาของชาวไทย เชื้อสาย มอญ
1. เชื่อกันว่าการทำบุญให้ทานอะไรก็ตามย่อมส่งผลถึงผู้ที่เราปรารถนาจะอุทิศ ส่วนกุศลให้ชาวไทยมอญส่วนใหญ่จะ “นิพพาน” โดยสังเกตได้จากคำอธิฐานที่ว่า “นิพพาน ปัจจะ โยโหตุ” ขอให้เป็นปัจจัย สำเร็จพระนิพพานด้วนเทอญ
2. เชื่อกันว่าการไปทำบุญ จะต้องแต่งตัวให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ภาชนะที่ใส่อาหารไปทำบุญ จะต้องเตรียมไปอย่างปราณีต เพราะจะส่งผลไปถึงอนาคตชาติ
3.มีความเชื่อว่าการทำบุญที่ทำบุญแล้วได้บุญมากคือ
- การสร้างพระพุทธ คือ การสร้างพระพุทธรูป
- การสร้างพระธรรม คือการสร้างพระไตรปิฎก และพระอภิธรรม
- การสร้างพระสงฆ์ คือ การบวชพระ
4. มีความเชื่อ ในการนับถือพระพุทธศาสนา ชาวไทยมอญมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โดย ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นองค์เคารพ สักการบูชาสูงสุด
5. ความเชื่อ ในการนับถือพระพุทธศาสนา และเคร่งครัดในศาสนา พระมอญจึงถือเคร่งทางวินัยมาก ถึงกับมีคำที่ว่า “ถือศีลต้องพระไทย วินัยต้องพระมอญ” ซึ่งการถือศีลอย่างเคร่งครัดจึงเป็นต้นกำเนิดของพระธรรมยุติกนิกายในประเทศ ไทย
6. ปัจจุบันนี้พระมอญยังเคร่งครัดวินัยอยู่จะไม่เห็นพระมอญในเวลากลางวันอาบน้ำ ริมน้ำ มานั่งเล่นหน้าวัด เดินไปในหมู่บ้าน เป็นต้น
7. ในวัดมอญทุกวัด จะมีศาลเจ้าประจำมอญทุกวัด มอญเรียกว่า “ตะละพาน”
8. ชาวบ้านเคารพสถานที่ในวัด
9. ความเชื่อว่าวัดใน ช่อฟ้าใบระกา หน้าบันพัลทลายลงมาอย่าได้นำขึ้นไปอีก
10. มีความเชื่อว่าวัดใดกำลังปลุกเสกพระอยู่ ผู้หญิง สุนัข จะเข้าไปไม่ได้
11. มีความเชื่อ ในเรื่องการบวชเรียน มักจะเห็นว่า ชาวบ้านเดินผ่านหน้าโบสถ์ก็ต้องแสดงความเคารพกราบไหว้พระ ผู้หญิงห้ามเข้าไปในโบสถ์หรือบริเวณกุฏิพระ
12.มีความเชื่อ เมื่อบ้านใดมีทารกเกิดใหม่จะต้องนำทารกนั้นไปใส่ในกระด้งร่อน แล้วพูดว่า”สามวันลูกผี สี่วันลูกคน” ต่อเด็ก
13. มีความเชื่อ ในการโกนผมไฟ การโกนผมไฟ เป็นการสู่ขวัญเด็ก และสู่ขวัญบิดา มารดา เพื่อให้เกิดความสบายใจ ด้วยความเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธี ที่จะทำให้เป็นมงคลต่อเด็ก
14. มีความเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำประณีตได้ประณีต
15. มีความเชื่อ เกี่ยวกับการปลูกเรือนว่า เวลาสร้างบ้าน เวลาปลูกสร้างบ้านเรือนให้ปลูกวันเกิดของผู้สร้าง(เจ้าของ)
16.มีความเชื่อว่า เวลาปลูกบ้านต้องปลูกให้เสาเท่ากันหมด เชื่อว่าจะมีความสุข
17. มีความเชื่อว่า เมื่อจะขึ้นบ้านใหม่จะต้องเลือกวันและมีกำหนดเวลาไว้ว่าแต่ละวันจะทำอะไร
18. มีความเชื่อเกี่ยวกับ ความกตัญญูกตเวที น้องๆควรเชื่อฟังพี่คนโตซึ่งได้ถ่ายทอดจากผีบรรพบุรุษแห่งตระกูล
19. มีความเชื่อว่า ระบบเพื่อนบ้านและระบบเครือญาติทำให้การเป็นอยู่ในสังคม มีการพึ่งพา ถ้อยที ถ้อยอาศัยกันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ให้ความเกรงใจและให้ความเคารพนับถือกัน
20. มีความเชื่อว่า บุคคลที่นามสกุลเดียวกัน จะจัดงานบวชนาคกับงานแต่งงานในวันเดียวกันไม่ได้
21. เมื่อมีลูกสาวที่แต่งงานแล้ว จะให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ไม่ไห้นอนบ้านเดียวกับพ่อแม่
22. มีความเชื่อว่า ตุ๊กตา เป็นสิ่งไม่ดี จึงห้ามนำเข้าบ้าน เพราะจะทำให้ไม่มีความสุข
23. มีความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ว่าห้ามปลูกต้นราตรี ต้นลั่นทม ต้นพิกุล ไว้ในบ้าน เพราะต้นไม้เหล่านี้เป็นต้นไม้ที่อยู่ในวัด
24. มีความเชื่อว่า ต้นไม้ที่มีชื่อต่อไปนี้คือ ต้นโพธิ์ ต้นหว้า ต้นบุนนาค ต้นงิ้ว ถ้างอกขึ้นข้างๆบ้าน รีบทำลายเสียอย่าได้เก็บไว้ จะทำให้เจ้าของบ้านได้รับความเสียหาย
25. มีความเชื่อในเรื่องเต่า ชาวไทยมอญ จะไม่จับเต่ามาทำอาหาร ไม่จับตัวเต่าที่มีชีวิตเมื่อพบเห็นจึงต้องพูดว่า เต่าตัวนี้ตายแล้ว เพื่อเป็นการแก้เคล็ด แล้วนำเต่าไปปล่อย
26. มีความเชื่อว่า ศพคนตายจะต้องหันไปทางทิศเหนือ
27. มีความเชื่อว่า ภายใน 6 เดือน 9เดือน จะมีการทำพิธีไหว้ผีบ้านผีเรือน ปู่ย่า ตายาย โดยมีเครื่องไหว้ คือ กล้วย ไก่ หมู ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว
28. มีความเชื่อว่า ที่บ้านชาวไทยมอญ จะต้องมีที่ตั้งบูชาผ๊บรรพบุรุษ มีวิธีเซ่นผี เลี้ยงผี พิธีรำผี

29. ,มีความเชื่อในการเคารพบรรพบุรุษ ไม่ว่าท่านจะล่วงลับไปแล้ว หรือว่าท่านจะมีชีวิตอยู่ก็ตามเพราะการเคารพเทิดทูนบรรพบุรุษ ย่อมนำความเจริญมาถึงตนและครอบครัวตามหลัพระพุทธศาสนาที่ว่า “ปูชะนียานัง” หมายถึงการบูชาคนที่ควรเคารพ
30. มีความเชื่อว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วยังหิวโหยอยู่ ยังชอบรับประทานอาหาร ตามเทศกาล กล่าวคือ ขนมกาละแม จะมีในเทศกาลสงกรานต์ ขนมกระยาสารท มีในเทศกาลออกพรรษา ข้าวเม่าทอด มีในเทศกาลทอดกฐิน ข้าวต้มลูกโยนน้ำผึ้ง มีในวันเพ็ญเดือนสิบ
31. มีความเชื่อว่า บรรพบุรุษกับพวก เขาสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา และมักจะพบว่า ผีบรรพบุรุษจะรู้ด้วยการเซ่นไหว้อยู่เสมอ การทำบุญต้องอุทิศส่วนกุศลให้ การแต่งงานถือว่าจำเป็นต้องบอกผีบรรพบุรุษทั้งสองฝ่ายรับรู้ โดยจัดสิ่งของเซ่นไหว้ เช่นผ้าขาว เหล้า ไก่ โดยผ่านเจ้าบ่าวเป็นฝ่ายจัดหา ที่เรียกว่าเครื่องขันหมากจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งให้เจ้าสาว เซ่นไหว้บรรพบุรุษของเจ้าสาว อีกส่วนหนึ่งให้เจ้าบ่าวนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเจ้าบ่าว
32. มีความเชื่อว่า ผีบรรพบุรุษ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ที่เคารพมาแต่อยู่กรุงหงสาวดี แล้วอันเชิญมาประดิษฐานในชุมชนของตนเอง โดยปลูกศาลเจ้าให้เป็นที่สถิตดวงวิญญาณเหล่านั้น เพราะความผูกพันก็มีอยู่ตลอดเวลา
33. มีความเชื่อในเรื่องของผีบรรพบุรุษ
- ชาวไทยมอญมีความเชิอว่า ลูกชายคนโตของตระกูลจะเป็นผู้รับผีบรรพบุรุษต่อจาก บิดา มารดา หรือ คนรุ่นเก่าที่ล่วงลับไปแล้ว ที่บ้านจะมีที่ตั้งผีบรรพบุรุษ
- เชื่อว่า ผีบรรพบุรุษจะสิงสถิตอยู่ที่เสาเอกของเรือนโดยมีสัญญาลักษณ์ที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเสาผี คือ หีบ หรือกระบุงใส่ผ้าผี ได้แก่ สไบ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า แหวนหัวพลอยแดง แขวนไว้ที่เสาผี
34. เชื่อว่า การที่ผู้หญิงไปแต่งงานกับคนต่างตระกูลหรือต่างผี จะต้องทำพิธีคืนผีบอกกล่าวก่อนที่จะไปเข้ากับผีฝ่ายสามี
35. เชื่อว่า ผู้ใดอยู่ในตระกูลทำผิดซึ่งระเบียบหรือข้อห้ามจะทำให้มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ซึ่งจะต้องทำพิธีรำผี
36. เชื่อว่า ชายหญิงที่ไม่ใช่ลูกคน(คนละผีกัน) จะร่วมหลับนอนกันภายในบ้านไม่ได้
37. มีความเชื่อว่าหญิงมีครรภ์ที่ไม่ใช่ลูกสาวห้ามนอนบนเรือน
38.มีความเชื่อว่า เมื่อมีคนในตระกูลตายหรือท้องในปีนั้น(สิ้นสุดเดือน6) ห้ามคนในตระกูลจัดพิธีต่างๆ เช่น พิธีโกนจุก แต่งงาน บวช หรือเลี้ยงผี
39. มีความเชื่อว่า หมู่บ้านชาวไทยมอญทุกหมู่บ้าน จะต้องมีศาลเจ้าประจำหมู่บ้านทุกๆ ปี หลังสงกรานต์แล้วจะต้องทำพิธี “รำเจ้า” ประจำหมู่บ้าน

ถนนนางงาม อ.เมือง จ.สงขลา

0

ถนนนางงาม อ.เมือง จ.สงขลา

เป็นถนนที่สวยงามและน่าอยู่แห่งนี้

เป็นสถานที่ที่ผสมผสานวัฒนธรรมหลาก หลาย เชื้อชาติไว้อย่างลงตัว

ไทยพุทธ มุสลิม จีน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข...พึ่งพา แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน...
ไม่มีการแบ่งแยกแม้แต่อย่างใด....



ประวัติถนนนางงามไม่มีไรมาก

นางงามสงขลาคนแรกบ้านอยู่ ถัดจากร้านใต้ฟ้าขึ้นไป

เวลาที่คนเรียกกันแต่ก่อนก็เลยเรียกแบบปาก ต่อปากว่าถนนนางงาม

ร้านลูกชิ้นทอด ที่แยกปัตตานี เรียกร้าน ป้าจวบ ค่ะ

ร้านไอติมดั้งเดิม จะมีแค่ ร้านยิว กับ ไอติมถั่วเขียว ตรงข้ามเกียจฟั่ง

ร้านไอติมโอ่ง เป็นเด็กรุ่นใหม่ ลูกชายของร้านอาหารตามสั่งป้าเม่า ขายตอนกลางคืน ตรงข้ามซาลาเปาเกียจฟั่ง

ขนม สัมปันนี ทองเอก ดั่งเดิม ของอร่อยทำส่งร้านมีชื่อเสียงในเส้นนางงาม อยู่เยื้องกับร้าน ร้านลูกชิ้นป้าจวบ อยากได้ของใหม่สด ต้องเข้ามาซื้อในซอยนี้

ถ้ามาใต้ฟ้า ต้องกินเย็นตาโฟ ด้วยนะคะ ร้านนี้เค้าดังเรื่องเย็นตาโฟ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู สรุปอร่อยทุกอย่าง

ที่ แนะนำสุดๆๆๆๆๆ อยู่ถัดจากร้านใต้ฟ้า ขนมลูกโดน อร่อย นุ่ม ถึงไข่ ติดกับร้านอาหารอิสลามจำชื่อไม่ได้ แต่ถัดจากใต้ฟ้าไป 5-6 ห้อง ขายประมาณ บ่ายสามโมง ซื้อกลับบ้านเย็นแล้วก็อร่อยนุ่มเหมือนเดิม ไม่เหนียวเหมือนที่หาดใหญ่ พิมพ์สั่งทำพิเศษเป็นทองเหลืองจากนคร ไม่ได้ใช้แบบทั่วไป ไม่มีชื่อร้าน

ถนนนางงาม กับ ขนมนาง งาม

0

ถนนนางงาม เป็นถนนสายเล็กๆ แคบๆ

เดิน รถได้ทางเดียว อยู่ใจกลางเมืองสงขลา

แต่ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสภาพของถนนนั้น

คือ ความมีสำนึก ความมีน้ำใจ

และ ความใจกว้าง ของคนสงขลาบนถนนสายนี้

แบบ ที่เรียกว่า เห็นได้ไม่ง่ายนัก ในสังคมยุคปัจจุบัน

ถนนสาย นี้มีประวัติความ เป็นมายาวนานนับร้อยปี

ยาว จนกระทั่งคนในสงขลาเองบางคน

ก็ ยังไม่ทราบที่มาที่ไปของชื่อถนนสายนี้เลย

ผู้เขียนได้มี โอกาสพูดคุยกับคุณลุงท่านหนึ่ง

ชื่อ คุณลุงถาวร วรรณวิไล

คุณลุงเปิด ร้านค้าขายของ

ที่สื่อความ เป็นคนสงขลา และความเป็นคนไทยแบบเดิมๆ ได้เป็นอย่างดี

นั่นคือการขาย เครื่องใช้ เช่น หมา โอน และตะกร้าจักสานรูปแบบต่างๆ

คุณลุงเล่าว่า ตั้งแต่คุณลุงเกษียณ คุณลุงไม่อยากอยู่บ้านเฉยๆ

เลยตัดสินใจเปิด ร้านขายของกับ คุณป้าราตรี

คุณลุงและคุณป้า เป็นข้าราชการบำนาญทั้งคู่

คุณลุงกับคุณป้า กล่าวว่า

ที่ ตัดสินใจเปิดร้านค้าขายนี้ ก็ไม่ได้หวังกำไรใดๆ

เพียง แต่ต้องการให้ความรู้แก่คนรุ่นหลัง เกี่ยวกับเรื่องเครื่องใช้จักสาน

ที่ คนสมัยก่อนเคยใช้เท่านั้น

ส่วน เรื่องขายได้นั้น

เป็น เพียงผลพลอยได้จากการให้ความรู้

ผู้เขียนถึงจะ เป็นคนหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยกำเนิด

แต่แย่เสียจริงๆ ที่ไม่รู้ประวัติของ เมืองสงขลาเอาซะเลย

แม้กระทั่งว่า ทำไมถนนนี้ ชื่อ ถนนนางงาม

แต่คำตอบคงหาได้ ไม่ยากนัก

หากจะถามใครสัก คนที่เป็นคนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณนั้น

อย่างเช่นคุณลุง ถาวรอย่างงัยล่ะคะ

ว่า แล้วก็ต้องขอถามเพื่อคลายความสงสัยให้ตัวเอง

และ ก็เพื่อมาบอกต่อแก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

ที่ อาจกำลังรอทราบคำตอบเหมือนดิฉันอยู่นี่แหละค่ะ

คุณลุงได้ให้ ความกระจ่างแก่ดิฉันว่า

กาล ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (เล่ายังกะนิทานแน่ะ)

เมือง สงขลาได้มีการจัดประกวดนางงามครั้งยิ่งใหญ่

และ คนที่ได้เป็นนางงามในครั้งนั้น อาศัยอยู่บนถนนสายนี้

จาก นั้นเป็นต้นมา ถนนสาย นี้จึงได้ชื่อว่า ถนนนางงาม

เหตุผลง่ายๆ อย่างนี้นี่เองค่ะ ท่านผู้อ่าน

ส่วนชื่อถนนสาย อื่นแถวๆ นี้ ก็คงมีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ

แล้ววันหน้าผู้ เขียนจะติดตามหาที่อื่นมาเล่าให้ฟังต่อไปนะคะ

เพราะผู้เขียน เองก็ชักจะสนุกแล้ว

หรือ หากว่าท่านผู้อ่านคิดสงสัยชื่อถนนสายไหนในแถบลุ่มน้ำฯ

แล้ว ไปได้รับความรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้รู้ที่น่าเชื่อถือ

แล้วอยาก จะเขียนมาเล่าแบ่งปันความรู้และความสุขสนุกสนาน

ก็ ขอเชิญนะคะ

พูดถึงเรื่อง อาหารการกินของคนสงขลาแล้ว

อยากจะบอกว่า ไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ เลยค่ะ

หลายคนคงเคยคิด ว่า

มาหาดใหญ่ มาสงขลา จะซื้ออะไรกลับไปเป็นของฝากดีน้า...

และหลายคนก็ ตัดสินใจเลือกขนมขบเคี้ยวที่ตลาดกิมหยง

ซึ่งซื้อขายกัน เกร่ออยู่ที่ใจกลางนครหาดใหญ่ไปเป็นของฝาก

ปัจจุบันเลยกลับ กลายเป็นว่า

ของฝากจากตลาด กิมหยง คือสัญลักษณ์ว่ามาจากหาดใหญ่ มาจากสงขลา

ส่วนหนึ่งก็อาจ เป็นเพราะขนมที่นี้ เป็นของกิน ของขบเคี๊ยวแบบแห้งๆ

และสะดวกต่อการ ซื้อไปฝาก คนจึงนิยมซื้อติดไม้ติดมือไปฝากกันแน่ๆ เลย

ความจริง ขนมที่ตลาดกิมหยงก็อร่อยเหมือนกัน และมีให้เลือกมากมายเชียวค่ะ

ผู้เขียนเองก็ไป ซื้อหาทานบ่อยๆ เหมือนกัน เพียงแต่ไม่ใช่ขนมพื้นเพเลสาบ

ท่านผู้อ่านทราบ ไหมคะ

ว่าจังหวัดสงขลา ยังมีขนมอีกหลายอย่างที่อร่อยและน่าสนใจทีเดียวเชียวค่ะ

ขนม พื้นเมือง หรือขนมลุ่มน้ำที่ดิฉันจะกล่าวถึงต่อไปนี้

สามารถ หาได้เยอะในที่นี้ค่ะ บนถนนนางงามค่ะ

และ ผู้เขียนก็ขออนุญาตทึกทักเรียกขนมพวกนี้ว่า ขนมนางงาม เลยนะคะ

เริ่มกันตั้งแต่ ต้นถนนนางงามกัน เลยดีมั๊ยคะ

เมื่อท่านเข้า สู่ถนนนางงาม

ท่านจะพบร้านขาย น้ำชาทางด้านขวามือ

ร้านน้ำชาที่นี้ ดูเป็นกันเอง บรรยากาศร่มรื่น

และที่สำคัญ ผู้เขียนไปเจอกับขนมที่ไม่เคยเห็น หรือได้ยินมาก่อนเลย

ขนมที่ดิฉัน กล่าวถึง ชื่อว่า ขนม บอก ค่ะ

ก่อนอื่น ต้องขออธิบายให้ท่านผู้อ่านทราบเบื้องต้นกันก่อนว่า

พวกเราคนทางภาค ใต้มักจะย่อคำ และพูดสั้นๆ (แต่ได้ใจความ)

เหมือน ที่ใครต่อใครชอบแซวกันว่า

รถไฟ วิ่งสวนทางกันวูบเดียว

คน ใต้สองคน อยู่กันคนละขบวน ก็ยังตะโกนคุยกันรู้เรื่องเลย

กลับมาที่ ขนมบอก นะคะ

ชื่อเต็มๆ ของขนมชนิดนี้คือ ขนมกระบอก ค่ะ

หลายคนอาจคิดว่า คงจะเหมือนกับ ข้าวหลามหนองมน ของขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีซีนะ

เกือบใช่ค่ะ แต่ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว

เพราะขนมที่ ดิฉันหมายถึงอยู่นี้ จะมีการทำให้สุกอยู่ในกระบอก

ซึ่งเป็นกระบอก สเตนเลส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกประมาณ 3 เซนติเมตรเห็นจะได้

จากนั้น ก็จะบรรจุข้าวเหนียวหรือแป้งไว้ข้างใน แล้วก็นำไปนึ่ง

เมื่อสุกก็ใช้ ไม้ยาวๆ คล้ายตะเกียบ กระทุ้งออกมาคลุกกับมะพร้าวอ่อนขูด

สี ขาว น่ากินเชียวค่ะ

โรย หน้าด้วยน้ำตาลทรายและงาขาว รสชาติดีมากเลยนะคะ

เหมาะ กับการทานคู่กับน้ำชา

เกือบลืมบอก แน่ะคะ

ว่า ขนมบอก ขายตั้งแต่ประมาณบ่ายสองโมงเป็นต้นไป จนของหมด

อย่า เพิ่งอิ่มกันนะคะ นี่แค่เริ่มต้นกันเท่านั้นเอง

ร้านต่อมาเป็น ร้านที่ใครได้ทาน ต้องเย็น สดชื่น ไปตามๆ กัน แน่นอนค่ะ

นั่นก็คือร้านไอ ศครีมไข่สูตรดั้งเดิมร้านแรกในจังหวัดสงขลา

กำลังทำหน้างง กันอยู่แน่เลย ว่าทำไมต้องไอศครีมไข่

ก็ปกติ ไอศครีมก็มีไข่เป็นส่วนผสมอยู่แล้วนี่น๊า...

ที่พิเศษและ แปลกอยู่ตรงนี้ค่ะ

ทางร้านจะนำไข่ ไก่สดๆ

โดยจะใช้เฉพาะ ไข่แดง มาราดบนไอศครีมที่ตักใส่ถ้วยเรียบร้อยแล้วค่ะ

เมื่อ ก่อนเค้าใช้ไข่แดงทั้งลูกเลยนะคะ ราดบนไอศรีม

แต่ ปัจจุบัน ก็อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า

เศรษฐกิจ ไม่ค่อยดี ของกินของใช้ก็แพงขึ้น

กระทั่ง ร้านไอศรีมไข่ยังได้รับผลกระทบ

จน ทำให้ไข่แดงหนึ่งฟองเต็มๆ

เหลือ เพียงไข่ที่ตีใส่ชามแล้วราดลงบนไอศครีม

ลองคิดดูซิคะ ไข่แดงเหลวเมื่อเจอกับความเย็นของไอศครีม ไข่ก็จะแข็งตัว

เหมือนช็อคโก แล็ตที่ราดบนไอศครีมของสเวนเซ่น ยังงัยอย่างงั้นเลยล่ะคะ

แต่ถึงแม้ปริมาณ ไข่จะลดลง ก็ขอรับประกันความอร่อยค่ะ ว่ายังเหมือนเดิม

ที่ พิเศษของร้านนี้ยังมีอีกหลายอย่างเชียวค่ะ

เริ่ม ตั้งแต่ คนขายมีอายุ 72 ปี ส่วน ร้านมีอายุ 70 ปี

เรียก ได้ว่าคลุกคลีอยู่ในวงการนี้มาตั้งแต่เกิดกันเลยทีเดียว

ร้านนี้เป็นมรดก ตกทอดมาจากคุณพ่อของคนขาย

หรือที่คนเชื้อ สายจีนเรียกว่า อากง หรือ คุณปู่

ยิ่งทำให้เรา แปลกใจมากเข้าไปอีก

เพราะอาม่าคนขาย เป็นคนเชื้อสายจีนแน่นอน

แต่ทำไมชื่อร้าน ถึงชื่อว่า ร้าน ไอศครีมยิว

และแล้วก็ต้องไป ถามอาม่าให้หายสงสัยว่า ทำไมถึงมีชื่อแบบนี้

คำตอบที่ได้คือ สมัยที่อากงเดินทางเข้ามาอยู่เมืองสงขลาใหม่ๆ นั้น

เนื่องจากอากง เป็นคนต่างด้าว

จึงจำเป็นต้อง ผ่านการตรวจคนเข้าเมืองก่อน

ชื่อ เดิมของอากงคือ “ฮ่องยิ่ว”

แต่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองลืมเติมวรรณยุกต์เอกที่คำว่า ยิ่ว ค่ะ

อา กงก็เลยได้ชื่อใหม่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การขายไอศครีม ของอาม่าทำให้ผู้เขียนซึ่งนั่งทานอยู่นั้นประทับใจมาก

เรื่องมันเป็น อย่างนี้ค่ะ

วันนั้นผู้เขียน นั่งทานไอศครีมแสนอร่อยดับร้อนอยู่

โต๊ะข้างๆ กัน คุณแม่พาลูกชาย 2 คนมาทานไอศครีม

ลูกชายคนเล็กที่ มีอาการหวัดอยู่ บอกคุณแม่ว่าอยากจะทานอีกสักถ้วย

คุณแม่บ่นเสียง ดังไปนิด อาม่าจึงได้ยินเข้า

คุณ ว่าถ้าเป็นคนขายของทั่วไปเค้าจะทำยังงัยคะ

เท่า ที่ผู้เขียนเคยเจอ ส่วนใหญ่เค้าก็ไม่สนใจว่าใครจะเป็นหวัด หรือเป็นอะไร

เพราะ เขาจะขายของ

แต่ไม่ใช่ที่ ร้านไอศครีมยิวแน่นอนคะ

สิ่งที่ดิฉันได้ ยิน มันทำให้ดิฉันต้องหยุดทานไอศครีมชั่วครู่ และหันไปมองอาม่าทันที

อาม่าพูด อย่างนี้ค่ะ

“ไม่ได้นะ ไม่สบายอยู่ กินถ้วยเดียวก็พอแล้ว

เอา ไว้ให้หายไม่สบายก่อน จะมากินอีกกี่ถ้วยก็ได้

แต่ ตอนนี้ไม่สบายอยู่ ไม่ให้กินต่อ สุขภาพต้องมาก่อน

ดิฉันประทับใจ มาก

และรู้สึกว่า อาม่าไม่ได้เป็น เพียงแค่คนขายไอศครีมเท่านั้น

แต่ นี่ซิคือมนุษย์

ผู้ ซึ่งไม่ได้คิดเพียงแต่จะขายของให้ได้เงิน

อาม่าคิดถึง เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

นี่ถ้าใครมาเล่า ให้ดิฉันฟังเรื่องนี้ ดิฉันต้องคิดว่า โม้แน่นอน

และนี่เป็น สาเหตุที่ดิฉันอยากให้ท่านผู้อ่านมารับประสบการณ์ที่ดีเหมือนดิฉันที่นี้ค่ะ

ร้าน ไอศครีมยิว

อาหาร 2 อย่างข้างต้นที่ดิฉันกล่าวไปแล้วนั้น

ล้วน แต่เป็นอาหารที่ต้องรับประทานซะเดี๋ยวนั้น

ไม่ สะดวกที่จะซื้อเป็นของฝากได้

น่า เสียดายอะไรอย่างนี้

แต่อย่าเพิ่งหมด หวัง ว่าจะไม่ได้ชิมของอร่อยของสงขลาอย่างนั้นซิคะ

เพราะ ดิฉันคิดว่า ซื้อกลับไปฝากไม่ได้นี่ซิเป็นโอกาสดี

ที่ ท่านผู้อ่านจะได้หาโอกาสออกนอกบ้าน

หรือ เดินทางมาจังหวัดสงขลา มาเที่ยวชมและชิมของอร่อยที่นี้ด้วยตนเองนะคะ

เรื่องของกินของ ดิฉันยังไม่จบเพียงเท่านี้นะคะ

ในที่สุด ดิฉันก็เดินทางมาถึงอีกหนึ่งร้าน เป็นร้านของฝาก

และร้านนี่เอง ที่เราสามารถซื้อ ขนมลุ่มน้ำ ฝากของคนสงขลา ที่ดิฉันภาคภูมิใจ

ไปฝากคุณพ่อ คุณแม่ น้องๆ และบรรดาเพื่อนๆ

บนถนนนางงาม มีร้านจำหน่ายขนมของฝากที่มีหลากหลาย

ที่ อยู่ในรูปแบบแห้ง และอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ง่ายและสะดวกในการนำกลับไปฝากคนที่คุณรักได้

ร้านจำหน่ายของ ฝากในบริเวณนี้มีอยู่หลายร้านค่ะ

แต่ผู้เขียนไป สะดุดตาเข้ากับร้านนี้ค่ะ

ไม่ ใช่เพราะร้านนี้เป็นร้านที่มีสถานที่หรูหราแต่อย่างใด

ตรง กันข้าม ร้านนี้เปิดอยู่ในห้องแถว 2 ห้องติดกัน

โดย ที่บานประตูของร้านยังเป็นแบบดั้งเดิม

คือ ต้องใช้ไม้ที่ละแผ่นๆ มาทำเป็นประตู

จะ เปิดจะปิดร้านแต่ละที ต้องคอยยกไม้เข้า ยกไม้ออก ทีละไม้ๆ

การซื้อของ ฝากที่นี้ นอกจากจะได้ขนมที่อร่อยแล้ว

ดิฉันยังอิ่ม ใจที่เขายังคงรักษาสภาพความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม

ไว้ให้คนรุ่น หลังได้เห็น ได้ศึกษาอีกด้วย

ระหว่างที่ผู้ เขียนกำลังจับจ่ายซื้อของฝากอย่างสนุกสนานนั้น

ผู้เขียนก็ เหลือบไปเห็นป้ายประกาศเกียรติคุณให้แก่ร้านนี้

เนื่องด้วยเป็น ร้านแรก และเป็นร้านดั้งเดิมของจังหวัดสงขลาค่ะ

ร้านนี้มีชื่อ ว่า ร้าน ขนมไทยแม่ฉวี

และผู้ที่ขายของ ให้ดิฉันนั้น คือ คุณ พะเยีย สายเรี่ยม

ลูก สาวที่มีใจแน่วแน่ว่า ต้องการสานต่อกิจการของคุณแม่

และ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอาหารการกินของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาไว้ค่ะ

นอก จากจะเป็นคนที่กตัญญูต่อผู้มีพระคุณคือคุณแม่แล้ว

คุณ พะเยียยังตอบแทนคุณแผ่นดิน

ด้วย การรักษาวัฒนธรรมอาหารการกินที่น่าชื่นชมนี่ไว้อีกด้วย

และแล้ว หนึ่งวันของผู้เขียนบนถนนนางงาม ก็ต้องขอจบลงเพียงเท่านี้ก่อน

ไม่ ใช่เพราะขนมไม่หลากหลาย จนไม่รู้จะแนะนำอะไรต่อไปแล้วหรอกนะคะ

แต่ เพราะดิฉัน......อิ่มมากเลยต่างหากค่ะ

555 ทานขนม...ชื่นชม...อิ่มประสบการณ์ บนถนนนางงาม มาตั้งแต่เช้า

ขอบคุณโครงการดี ๆ อย่างโครงการ รู้ รัก หวงแหน ลุ่มน้ำทะเลสาบ

ที่ทำให้ผู้ เขียนได้รู้ว่า ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่ดิฉันและผู้อ่านบางท่านยังไม่ทราบค่ะ

ดิฉันรัก สงขลา และหลงมนต์เสน่ห์ของสงขลาขึ้นอีกเป็นกองเชียวค่ะ

วันนี้สนุก มาก ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งประสบการณ์ที่อิ่มสมอง แถมได้ทานขนมจนอิ่มท้อง

และ ที่คงจะไม่มีทางลืมอย่างเด็ดขาดก็คือ ความมีน้ำใจของคนสงขลา

บนถนนสาย หนึ่ง

ถนนที่ สำคัญของคนสงขลาหลายคน

หลาย ชั่วอายุคน

ถนนนางงาม