• Twitter
  • Technocrati
  • stumbleupon
  • flickr
  • digg
  • youtube
  • facebook

Follow our Network

เปิดตำนาน หับ โห้ หิ้น จากโรงสี สู่บริษัทหนัง

0

ถนนนางงาม น่าจะหมายถึงถนนเริงรมณ์มีหญิงงามบริการน่ะครับ มิใช่มีนางงาม
(รู้มาเช่นนี้ หากผิดพลาดขอให้ผู้รู้แก้ไขด้วย)

โรงสีแดงหรือโรงสีหับโห้หิ้น เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง มีนายสุชาติ รัตนปราการ นักเรียนปีนัง เป็นคนออกแบบ โรงนี้แห่งนี้ตั้งมานานแล้ว รับข้าวเปลือกมาจากระโนด มีคนงานเชื้อจีนกว่า 10 คน เปิดเครื่องสีข้าวทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข้าวที่สีเสร็จจะส่งไปขายแถวจังหวัดภาคใต้ นราธิวาส ตรังกานู มาเลเซีย ปิดกิจการไปตั้งแต่หลังสงครามโลก ปัจจุบันไม่ได้เป็นโรงสีข้าวแล้ว

เปิดตำนาน หับ โห้ หิ้น จากโรงสี สู่บริษัทหนัง



"หับ โห้ หิ้น" ใครได้ยินชื่อนี้ ต้องนึกถึงบริษัทหนังชื่อดัง ซึ่งจับมือกับค่ายยักษ์อย่างแกรมมี่ และ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในนาม "จีเอ็มเอ็ม-ไท-หับ" ฝากผลงานชิ้นเอกประดับโลก

เซลลูลอยด์เมืองไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น "แฟนฉัน" "15 ค่ำ เดือน 11" "มหา’ลัยเหมืองแร่" "เพื่อนสนิท" ฯลฯ แต่สำหรับชาวสงขลาย่านเมืองเก่า "หับ โห้ หิ้น" คือโรงสีข้าวเก่าแก่ในตัวอาคารสีแดงแรงฤทธิ์ ที่ยังคงความขลังอย่างคลาสสิกบนถนนนครนอก

แต่ทำไม ต้อง "หับ โห้ หิ้น" ชื่อนี้เป็นภาษาอะไร แปลว่าอย่างไร? น่าสนใจยิ่งนัก

วิทยานิพนธ์ของ ดร.ศรีสุพร ช่วงสกุล แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา" ระบุไว้ตอนหนึ่ง ว่าย่านเมืองเก่าสงขลา เขต ต.บ่อยาง เป็นบ้านเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี 2385 มีถนนสายหลักคือ นครนอก นครใน และ ถนนเก้าห้อง (ภายหลังเรียกถนนนางงาม) เศรษฐกิจของสงขลาระยะนั้น ขับเคลื่อนโดยกลุ่มพ่อค้าเชื้อสายจีนหลายตระกูล เช่น ณ สงขลา รัตรสาร รัตนปราการ โคนันทน์ เงารังษี เลขะกุล ฯลฯ ทำธุรกิจค้าขายกับเกาะปีนัง รวมทั้งมีกิจการโรงสี รองรับผลผลิตข้าวจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอันอุดมสมบูรณ์

ในจำนวนนั้น มีโรงสีหับ โห้ หิ้น ที่ขุนราชกิจจารี (ต้นตระกูลเสาวพฤกษ์) ร่วมหุ้นกับตระกูลโคนันทน์ ตั้งขึ้นราวปี 2454 ต่อมาในปี 2468 นายสุชาติ รัตนปราการ หนุ่มนักเรียนปีนัง หลานตาของท่านขุนเข้ามาดำเนินกิจการแล้วซื้อหุ้น โดยไปกู้เงินใส่กระสอบแบกทูนมาจ่ายให้หุ้นส่วน จนโรงสีหับ โห้ หิ้น ตกเป็นของนายสุชาติเพียงผู้เดียว แล้วด้วยความที่เป็นนักเรียนนอกหัวก้าวหน้า นายสุชาติพัฒนาโรงสีโดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์พลังไอน้ำ คือการใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไอน้ำไปสีข้าว นับว่าทันสมัยมากในยุคนั้น ตามประวัติว่านายสุชาติลงมือเขียนจดหมายไปสั่งซื้อเครื่องนี้โดยตรงจาก อังกฤษทีเดียว

ต้นตระกูล "รัตนปราการ" เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน "แซ่ก๊วย" จากมณฑลฮกเกี้ยน อพยพมาตั้งรกรากที่สงขลา ตั้งแต่ราวปี 2250 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา คำว่า "ก๊วย" แปลว่ากำแพงเมือง จึงเป็นที่มาของนามสกุล "รัตนปราการ" แปลว่า "กำแพงแก้ว"

ส่วนชื่อโรงสี "หับ โห้ หิ้น" เป็นภาษาฮกเกี้ยน มีผู้แปลความว่าหมายถึง เอกภาพ ความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรือง สอดคล้องกับความเห็นของ อาจารย์สุขสันต์ วิเวกเมธากร ผู้เชี่ยวชาญจีนศึกษา เจ้าของนามปากกา "เล่าชวนหัว" และเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาจีน "สุขสันต์วิทยา" ที่ว่า "หับ" ในภาษาจีนฮกเกี้ยน น่าจะตรงกับคำว่า "ฮะ" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่แปลว่า ความสามัคคี สมานฉันท์ ส่วน "โห้" น่าจะตรงกับ "ฮ่อ" หมายถึง ความดี ความเจริญรุ่งเรือง

แต่ "หิ้น" อาจจะเป็นคำนาม หมายถึง สวน หรือที่ที่มีคนมาชุมนุมกัน รวมความแล้ว "หับ โห้ หิ้น" ในทัศนะอาจารย์สุขสันต์ ควรจะแปลว่า "สวนสมานฉันท์อันเจริญรุ่งเรือง"

นายสุชาติ รัตนปราการ ดำเนินกิจการโรงสีหับ โห้ หิ้น จนเจริญรุ่งเรืองสมชื่อ โดยรับข้าวเปลือกจากย่านระโนด หัวไทร พัทลุง บรรทุกลงเรือเอี้ยมจุ๊นใช้ใบล่องทะเลสาบสงขลามาเทียบท่าเรือด้านหลังโรงสี มีคนงานเชื้อสายจีนราว 10 คน เปิดเครื่องสีข้าวทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันเป็นเดือนๆ ข้าวที่สีเสร็จส่งไปขายนราธิวาส เลยไปถึงมาเลเซีย แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ก็เลิกกิจการไป "หับ โห้ หิ้น" โรงสีแดงแห่งถนนนครนอก จึงกลายเป็นตำนานในความทรงจำของชาวสงขลา

หลังจากนั้น นายสุชาติไปมีบทบาทสำคัญในการแปลงผืนป่าบ้านคลองแงะ อ.สะเดา จ.สงขลา ให้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ โดยใช้ที่ดินราว 600 ไร่ ซึ่งมารดา นางกอบกุล รัตนปราการ ได้รับสืบทอดจากขุนราชกิจจารี มาทำประโยชน์ให้ชุมชน ทำให้คลองแงะมี "ถนนกอบกุลอุทิศ" มี "วัดกอบกุลรัตนาราม" มี "โรงเรียนกอบกุลวิทยาคม" ฯลฯ เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำตราบจนวันนี้ (จากหนังสือ "จีนทักษิณ วิถีและพลัง" โดย ศ.สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และคณะ)

ส่วนโรงสีแดง หับ โห้ หิ้น บนถนนนครนอก ทายาทตระกูลรัตนปราการก็อนุรักษ์ไว้เป็นอนุสรณ์เช่นกัน วันที่ผมแวะเข้าไปชมโรงสีนี้เมื่อต้นเดือนสิงหาคม พบว่าพื้นที่ส่วนท่าเรือที่เคยเป็นท่าข้าวเปิดให้เช่าเป็นแพปลา ภายในโรงสีที่ว่างเปล่ากลายเป็นลานจอดรถ และทราบว่าเคยเป็นสถานที่ถ่ายทำหนังบางเรื่อง เช่น "ฟอร์มาลีน แมน-รักเธอสุดหัวใจ" แสดงนำโดย เอกชัย ศรีวิชัย นักร้องลูกทุ่งชื่อดังชาวปักษ์ใต้ ส่วนตัวอาคารด้านนอกทาสีแดงสดใสใหม่ แต่ยังเห็นปล่องโรงสีเก่าสมชื่อ "โรงสีแดง" ที่ชาวสงขลาเมืองเก่ารู้จักกันดี

ทราบว่าปีหน้า นายกเทศบาลนครสงขลา-คุณอุทิศ ชูช่วย จะพัฒนาถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม เป็นถนนสายวัฒนธรรม ถึงวันนั้น โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น ก็จะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของถนน ทำให้เยาวชนและคนต่างบ้านต่างเมืองเรียนรู้ตำนานเมืองเก่าสงขลาได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น จึงควรที่ตระกูลรัตนปราการจะได้รับคำขอบคุณที่รักษาโรงสีของตระกูลไว้เพื่อ คนรุ่นหลัง

Comments (0)

แสดงความคิดเห็น