• Twitter
  • Technocrati
  • stumbleupon
  • flickr
  • digg
  • youtube
  • facebook

Follow our Network

ถนนนางงามสงขลา และเมืองคนงามบ้านโป่ง งามสมคำรำลือครับ

0

ไขปริศนา "ถนนนางงาม" อร่ามเรืองเมืองสงขลา

"ไปถึงสงขลา อย่าลืมแวะไปเดินย่านเมืองเก่าแถวถนนนางงามนะครับ พี่ต้องชอบแน่ๆ"

เสียงกำชับจาก จารุภัทร วิมุตติเศรษฐ์ เมื่อรู้ว่าผมจะสัญจรสู่สงขลา เขาเป็นหนุ่มนักทำสารคดีที่มีบ้านเกิดอยู่เหนือสุดที่เชียงราย แต่เป็นผู้เขียนหนังสือ "นายรอบรู้" ฉบับ "สงขลา" แดนดินถิ่นใต้เกือบสุดปลายด้ามขวาน ซึ่งระบุว่าย่านเมืองเก่าสงขลามีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือ ถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม เพราะมีห้องแถวไม้แบบจีน ตึกคลาสสิกสไตล์ "ชิโน-โปรตุกีส" และขนมอร่อยๆ ทั้งของไทย จีน ฝรั่ง ให้เลือกชมและชิมอย่างเพลิดเพลินเจริญใจ แต่ที่สงสัย คือมีถนนนครนอก กับถนนนครใน แล้วอยู่ดีๆ ทำไมมี "ถนนนางงาม" ขึ้นมาได้ นางงามอะไร? ใครคือนางงาม? ผู้กลายมาเป็นตำนานของถนนที่น่ารักสายนี้
ย้อนอดีตกลับไปราว 200 ปีก่อน ตัวอำเภอเมืองสงขลาไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้หาดสมิหลาเช่นในปัจจุบัน ถ้าดูจากแผนที่จะเห็นสงขลาเป็นจังหวัดที่มีรูปร่างแปลก เพราะมีทะเลสาบสงขลาคั่นกลาง เดิมตัวเมืองสงขลาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ เรียกว่า "เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน" จนกระทั่ง พ.ศ.2385 จึงขยับขยายมาฝั่งตรงข้าม บริเวณตำบลบ่อยาง เรียกว่า "เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง" โดยเริ่มแรกมีถนนสองสายคือ "นครนอก" หรือถนนเส้นนอกติดทะเลสาบ กับ "นครใน" หรือถนนเส้นใน ต่อมามีการตัดถนนสายที่สามเพื่องานสมโภชเสาหลักเมือง เรียกกันว่า "ถนนเก้าห้อง" หรือ "ย่านเก้าห้อง" เพราะอาคารแรกบนถนนสายนี้มี 9 คูหา หรือ 9 ห้อง
แต่ทำไม "ถนนเก้าห้อง" กลายไปเป็น "ถนนนางงาม" ไปได้?
บ่ายวันนั้น ผมเก็บงำความสงสัยไว้ในใจ ขณะเดินลัดเลาะไปตามซอกซอยของถนนนางงาม ซึ่งเป็นถนนสายสั้น รถราไม่พลุกพล่าน ชวนให้เดินทอดน่องท่องอดีต พบอาแปะขาย "การอจี๋" ขนมเก่าแก่ของคนจีน อยู่แถวศาลเจ้าพ่อกวนอูมานานนับ 40 ปี พบหอพักที่เป็นตึกเก่าสไตล์ "ชิโน-โปรตุกีส" งามสง่าบนถนนเชื่อมระหว่างถนนนางงามกับนครใน พบ "โรงแรมนางงาม" โรงแรมไม้เก่าแก่ประดับลายฉลุไม้วิจิตรตา ด้านหน้ามี "อาเคด" (Arcade) หรือทางเดินมีหลังคาคลุม คุ้มแดดคุ้มฝนเหมือนอาคาร "ชิโน-โปรตุกีส" แถวภูเก็ต พังงา แต่น่าเสียดายที่โรงแรมปิดกิจการไปเสียแล้ว
แวะร้านริมทาง ชิม "ข้าวฟ่างกวน" แก้หิว นี่คือขนมเก่าแก่ของชาวสงขลา ใส่ถาดขายคู่กับ "ข้าวเหนียวดำกวน" ชอบใจตรงที่ไม่หวานเกิน และคุณพี่เจ้าของร้านก็ไม่ได้ทำมากๆ ไปส่งขาย แต่ทำพอขายเองที่หน้าบ้านเป็นการสืบทอดฝีมือทำขนมของคุณยาย คุยไปคุยมา เค้าลางของ "นางงาม" เริ่มฉายแวว เมื่อผมลองถามถึงที่มาของชื่อถนนสายนี้
คุณพี่บอกไม่ทราบเหมือนกัน รู้แต่ว่ามีญาติของเธอคนหนึ่งสวยระดับนางงามทีเดียว แล้วตอนเด็กๆ ก็อยู่บ้านติดกันนี่เอง ว่าแล้วก็หยิบหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพสุภาพสตรีท่านหนึ่งให้ผมดู เป็นหนังสืองานศพที่สวยที่สุดเล่มหนึ่งที่ผมเคยเห็น สุภาพสตรีท่านนั้นคือคุณกมลทิพย์ สุดลาภา ชาวสงขลาที่เกิดและเติบโตย่านถนนนางงาม ศิษย์เก่า "วรนารีเฉลิม" โรงเรียนสตรีคู่เมืองสงขลา และครุศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยครูสวนดุสิต ก่อนพบรักกับคุณเชาวน์วัศ สุดลาภา ท่านผู้ว่าฯ ที่สร้างผลงานดีเด่นในหลายจังหวัด คุณกมลทิพย์เกษียณอายุราชการ ปี 2539 ที่สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ก่อนถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2544
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความสวยระดับนางงามของคุณกมลทิพย์ ช่างคู่ควรกับการเป็นชาวสงขลาแห่ง "ถนนนางงาม" เสียเหลือเกิน
อย่างไรก็ตาม ดร.ศรีสุพร ช่วงสกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ผู้ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสงขลา" กรุณาให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า "ถนนเก้าห้อง" ซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2385 ถูกเรียกขานเป็น "ถนนนางงาม" หลังปี 2478 เป็นต้นมา เพราะปีนั้นจังหวัดสงขลาเริ่มจัดงานปีใหม่และงานฉลองรัฐธรรมนูญ พร้อมกับการประกวดนางงามสงขลาเป็นปีแรก ตามนโยบาย "คณะราษฎร" ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ปรากฏว่ามีสาวงามจากถนนเก้าห้อง คือ คุณนงเยาว์ โพธิสาร (นามสกุลเดิม "บุญยะศิวะ") ชื่อเล่น "แดง" ได้รับรางวัลจากการประกวดครั้งนั้นด้วย
ชาวสงขลาจึงเรียก "ถนนเก้าห้อง" ว่า "ถนนนางงาม" กันติดปากมานับจากนั้น
แต่ก็ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นอีกว่าชื่อ "นางงาม" อาจเพี้ยนเสียงมาจาก "นางาม" เพราะบริเวณนี้เคยเป็นท้องนามาก่อน หรืออาจจะมาจากการที่ย่านนี้เคยเป็นย่านการค้าของสงขลา มีเรือสินค้ามาขึ้นฝั่งคึกคัก จึงเป็นย่านหญิงงามเมืองด้วย จึงเรียกกันว่า "ถนนนางงาม" แต่ข้อสันนิษฐานนี้ ดร.ศรีสุพร กล่าวว่า มีน้ำหนักน้อยมาก เมื่อเทียบกับเหตุผลแรก
แต่ไม่ว่าจะมีที่มาอย่างไร "ถนนนางงาม" ในวันนี้ ก็ยังสงบงามและคลาสสิก เคียงคู่ถนนนครนอก-นครใน ย่านเมืองเก่าสงขลา แม้มิได้ตีตรา "มรดกโลก" เฉกเช่น "หลวงพระบาง" ในลาว หรือ "ฮอยอัน" ในเวียดนาม แต่ก็ควรค่าแก่การชื่นชมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
(ล้อมกรอบท้ายเรื่อง)
ชมรมท่องอุษาคเนย์ ขอเชิญ "ท่องอารยธรรมเส้นทางสายไหม" วันที่ 16-25 ก.ย. สวัสดีเชียงตุง ชักพระออกพรรษาอินเล (พม่า) วันที่ 5-8 ต.ค. "สู่เมืองแมนที่ปลายฟ้า ลี่เจียง-แชงกรีล่า" วันที่ 20-24 ต.ค. นำชมโดย ธีรภาพ โลหิตกุล สำรองที่นั่ง 0-2637-7321-2, 0-1823-7373
คำอธิบายภาพ
นางงาม -1. ประตูเมืองเก่าสงขลา ทางเข้าสู่ถนนนครนอก นครใน และถนนนางงาม
นางงาม -2 ป้ายซอยบนถนนนางงาม ประดับรูปนางเงือกแห่งหาดสมิหลา นางงาม -3 คุณกมลทิพย์ สุดลาภา สาวงามชาวสงขลา ผู้เกิด และเติบโตที่บ้านย่าน ถนนนางงาม
นางงาม -4 อาคารเก่าแก่บนถนนนางงาม ยังหลงเหลือร่องรอยความงามในอดีตให้เห็น สังเกตว่ายังมีสามล้อ ซึ่งคนสงขลาแต่ก่อนเรียก "แท็กซี่" ส่วนรถยนต์เรียก "ล่อหลี่"
นางงาม -5. ลวดลายฉลุไม้วิจิตรตาที่ "โรงแรมนางงาม"
นางงาม -6. อาคารเก่าแก่สไตล์ "โคโลเนียล" ปัจจุบันเป็นหอพักสตรี

และที่อำเภอ บ้านโป่ง จ.ราชบุรี อำเภอนี้ถูกเรียกขนานนามว่า “เมืองคนงาม” ดังคำขวัญของ จ.ราชบุรี ที่ว่า คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
ฑีพัตรยศ สุดลาภา (ลูกหิน) ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี คุณแม่ของผมเป็นชาวมอญ(รามัญ) เพราะคุณตา กับคุณยายเป็นชาวรามัญทั้ง 2 ฝ่าย (คุณแม่นามสกุล ติเยาว์) และเล่าให้ฟังว่าสมัยเมื่อหลายร้อยปีก่อน ตระกูลทางคุณแม่ของผมนี้ได้เดินทางมาจาก กรุงหงสาวดี
แล้วเดินทางเข้ามาอยู่ใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี และที่บ้านของผมยังมีประเพณีประจำตระกูลก็คือการนับถือ ผีมอญ และก็มีความเคร่งในศาสนสพุทธ จากความเชื่อเรื่องผีมอญ(ผีตระกูลหรือผีบรรพบุรุษนี้ทำให้เกิดการมี
ประเพณี รำผีมอญ
มูลเหตุของการรำผีมอญ เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า ชาวมอญมีผีรักษา หรือผีประจำคระกูลเรียกเป็นการทั่วไปว่า “ผีมอญ” ซึ่งผีนี้มีหน้าที่คอยปกปักรักษาสมาชิกในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามล่วงละเมิดหรือ “ทำผิดผี” ด้วยประการทั้งปวงเช่น ห้ามคนตั้งครรภ์ที่ไม่ใช่ลูกสาวของเจ้าเรือนนอนในเรือน ห้ามคู่สามีและภรรยาที่ไม่ได้อยู่ร่วมผีเดียวกันกับเจ้าเรือน ร่วมหลับนอนในเรือน ห้ามเจ้าเรือนกินอาหารร่วมสำรับกับแขกผู้มาเยือน ฯลฯ
การ”ผิดผี” จะส่งผลให้คนในบ้านเกิดเจ็บไข้ไม่สบาย เมื่อหมอดูทำนายว่าเป็นเพราะผู้ กระทำ ก็จะจัดหาวันเพื่อทำพิธีรำผีมอญ ซึ่งก็คือกระบวนการแสดงขอขมา หรือลุโทษแก่โทษ ที่ได้กระทำล่วงเกินผีนั่นเอง ชาวมอญราชบุรี ไม่ทำพิธีรำผีมอญบ่อยครั้งนัก หากเลี่ยงได้ก็จะเลี่ยง เนื่องจากการรำผีมอญแต่ละครั้งจะต้องใช้เงินค่อนข้างมาก อีกประการหนึ่งเป็นการประกาศว่า บ้านเรือนหลังนี้ ได้มีผู้ทำผิดผี จึงได้เกิดการรำผีมอญเกิดขึ้น ดังนั้นวิธีการเลี่ยงที่ดีและง่าย คือการปฏิบัติกิจของคนในครอบครัวมิให้ผิดผี ซึ่งเท่ากับเป็นการคุมพฤติกรรมให้อยู่ในกรอบของความเหมาะควร เมื่อทุกคนเคารพ ถือผีของกันและกัน ก็คือการเคารพหลักให้อยู่ร่วมกันอย่างมั่นคง การนับถือผีของชาวมอญจึงเป็นเรื่องที่มีเหตุผล และเคารพยึดถืออยู่ตลอด

ประวัติและความเป็นมา
ชาวมอญ เรียกแผ่นดินตนเองว่า”รามัญประเทศ” และส่วนคำว่า”รามัญ” นั้นมาจากภาษาบาลีว่า ”รามญญ” ในปัจจุบันที่ชาวไทย-มอญ ตั้งหลักแหล่งเป็นกลุ่มใหญ่ ได้แก่อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รองลงมาคือ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และในจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนในตอนเหนือจะพบในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ นอกจากนั้นยังมีกระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ อยู่ในจังหวัด สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ปราณบุรี เป็นต้น

ความเป็นมาของมอญราชบุรี ชาวมอญราชบุรีนั้นนับถือพุทธศาสนาตั้งแต่อยู่ในประเทศพม่า โดยมีหงสาวดีเป็นเมืองหลวง ครั้นเมื่อหนีภัยมาอยู่ในแดนสยาม การนับถือพระพุทธศาสนาก็ยังคงมั่นเมื่อปักหลักรวมพลตั้งเป็นชุมชนขึ้นที่ใด ก็มักจะสร้างวัดเป็นศุนย์รวมใจ เช่นเดียวกับชาวมอญรุ่มแม่น้ำแม่กลอง หลักฐานการสร้างวัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง-- -โพธาราม ว่ามีการสร้างเมื่อในปี พ.ศ 2223 ต่อมาได้ค้นพบในคัมภีร์หมายเลข 321
ขึ้นที่วัดม่วง ความนั้นว่าผู้จารึกชื่ออุตตมะ เป็นชื่อขณะที่ยังเป็นพระ จารึกเอาไว้ในวัดม่วง แล้วเสร็จเมื่อตะวันบ่าย วันศุกร์ แรม 6 ค่ำ “ศักราช1000” หรือ พ.ศ2181 ตัวเลขศักราชที่เป็นทางการว่าวัดม่วงสร้างเมื่อ พ.ศ 2223 กับที่ค้นพบใหม่คือ พ.ศ2181 นั้นต่างกัน หากศักราชใหม่เป็นจริงนั้นแสดงว่า วัดม่วงบ้านโป่งต้องสร้างมาก่อนปีพ.ศ2181 เพราะอย่างน้อยต้องมีวัดมาแล้วก่อนที่จะมีพระภิกษุชื่อ อุตตมะมาจารึกไว้ในใบลาน แต่ประเด็นสำคัญก็คือ ชาวมอญได้ร่วมกันสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ และวัดก็ได้มีบทบาทต่อสังคมของชาวมอญเสมอมา ภายหลังที่ชาวมอญจากถิ่นอื่นๆเช่น จากกรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ มาอยู่อาศัยร่วมกับชาวมอญยุคบุกเบิก โดยมาอาศัยอยู่ในหมู่เครือญาติ มาแต่งงานเป็นเขย หรือเป็นสะใภ้กับชาวมอญด้วยกัน รวมถึงการหนีภัยสงครามจากการทิ้งระเบิดที่กรุงเทพฯ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 จึงทำให้ชาวมอญรุ่มแม่น้ำแม่กลองขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาเมื่อมีการคมนาคมและระบบชลประทานมรการพัฒนามากขึ้น เช่น การตัดถนนเข้าสู่ชุมชน การสร้างทางรถไฟผ่าน การสร้างเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวมอญราชบุรีในเขตบ้านโป่ง และโพธาราม มีคนในชุมชนออกไปทำงานรับจ้างนอกท้องถิ่น และมีคนต่างท้องถิ่นเข้ามาอยู่ในชุมชน แต่ ชาวมอญ โดยเฉพาะที่บ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง และตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม
เป็นแหล่งชุมชนที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมอญไว้ได้อย่างค่อนข้างมาก
ชุมชนบ้านม่วงนี้มีวัดม่วงเป็นศูนย์กลาง วัดม่วงเจริญมากเพราะมีหลวงปู่เข็มเป็นองค์อุปัชฌาย์ตอนนั้นองค์เดียว ชาวมอญ ชาวกระเหรี่ยงตอนเหนือลุ่มแม่น้ำแม่กลองขึ้นไปจนถึงเมืองกาญจนบุรีล่องแพมา บวช บางคนก็มาหาเจ้าภาพชาวบ้านม่วงให้บวชให้ ตนลาวจากหนองปลาหมอ และชาวมอญสองฝั่งตอนบนก็บวชที่วัดม่วงกัน
ศรัทธาสองฟากฝ่าย ชาวมอญราชบุรีนั้นเฉกเช่นชาวไทยทั่วๆไปที่มีความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องผี ขนานไปกับการนับถือพุทธศาสนาแต่ในกรณีของชาวมอญแล้ว ดูเหมือนว่าความเชื่อทั้งสองประการจะเข้มไปคนละแบบ เพรากิติศัพท์ในเรื่องของพระมอญเคร่งพระวินัยเป็นที่เรื่องลือคงความ สมณสารูปไว้ได้มาก ถึงขั้นกล่าวกันว่า เป็นแบบอย่างให้เกิดธรรมยุติกนิกายในช่วงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ครั้นเมื่อตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นแล้ว มีพระภิกษุชาวมอญ คือพระไตรสรณธัช (เย็น) นำไปเผยแพร่ที่เมืองมอญอีกทอดหนึ่ง
ชาวมอญราชบุรี ในท้องที่บ้านโป่งและโพธารามเองยังศรัทธามั่นคง เข้าวัด ทำบุญอยู่เสมอมา กิจการงานใดที่เนื่องด้วยพระศาสนาก็ร่วมแรงแข็งขันเป็นอันดี การปฏิบัติต่อพระสงฆ์นั้น ถือเสมือนป็นบุคคลพิเศษ อุบาสก
อุบาสิกาผู้สูงวัยชาวมอญ ราชบุรี ยังเลี่ยงที่จะเหยียบหรือยืนทับเงาของพระสงฆ์ ความใส่ใจในสิ่งอันละเอียดอ่อนเช่นนี้ สื่อให้เห็นจรรยามารยาทของกลุ่มชนที่ได้รับการอบรมทางด้านศีลธรรมมาเป็น อย่างดี
ส่วนศรัทธาในอีกฝ่ายนั้น ชาวมอญราชบุรียังคงนับถือผีมอญ ซึ่งจำแนกได้เป็นหลายอย่าง เช่น ผีบรรพบุรุษ ผีตระกูล ผีเมีย ผีครูอาจารย์ ผีลูกหลาน ฯลฯ ตลอดจนผีไร้ญาติ ด้วยเหตุนี้ชาวมอญจึงนำเรื่องผีมาเป็นเรื่องจำแนก เพื่อจัดระเบียบคนในสังคมตนเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชาวมอญถือหลักความเชื่อเรื่องผีมาเป็นเกณฑ์ในการนับเครือญาติที่ร่วมถือผี เดียวกัน ถือผีต่างกัน ซึ่งวิธีการนี้น่าจะมีมาก่อนพุทธศาสนาจะเผยแพร่เข้าไปในหมู่ชาวมอญ

ความเชื่อศาสนาของชาวไทย เชื้อสาย มอญ
1. เชื่อกันว่าการทำบุญให้ทานอะไรก็ตามย่อมส่งผลถึงผู้ที่เราปรารถนาจะอุทิศ ส่วนกุศลให้ชาวไทยมอญส่วนใหญ่จะ “นิพพาน” โดยสังเกตได้จากคำอธิฐานที่ว่า “นิพพาน ปัจจะ โยโหตุ” ขอให้เป็นปัจจัย สำเร็จพระนิพพานด้วนเทอญ
2. เชื่อกันว่าการไปทำบุญ จะต้องแต่งตัวให้ถูกต้องตามกาลเทศะ ภาชนะที่ใส่อาหารไปทำบุญ จะต้องเตรียมไปอย่างปราณีต เพราะจะส่งผลไปถึงอนาคตชาติ
3.มีความเชื่อว่าการทำบุญที่ทำบุญแล้วได้บุญมากคือ
- การสร้างพระพุทธ คือ การสร้างพระพุทธรูป
- การสร้างพระธรรม คือการสร้างพระไตรปิฎก และพระอภิธรรม
- การสร้างพระสงฆ์ คือ การบวชพระ
4. มีความเชื่อ ในการนับถือพระพุทธศาสนา ชาวไทยมอญมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โดย ถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นองค์เคารพ สักการบูชาสูงสุด
5. ความเชื่อ ในการนับถือพระพุทธศาสนา และเคร่งครัดในศาสนา พระมอญจึงถือเคร่งทางวินัยมาก ถึงกับมีคำที่ว่า “ถือศีลต้องพระไทย วินัยต้องพระมอญ” ซึ่งการถือศีลอย่างเคร่งครัดจึงเป็นต้นกำเนิดของพระธรรมยุติกนิกายในประเทศ ไทย
6. ปัจจุบันนี้พระมอญยังเคร่งครัดวินัยอยู่จะไม่เห็นพระมอญในเวลากลางวันอาบน้ำ ริมน้ำ มานั่งเล่นหน้าวัด เดินไปในหมู่บ้าน เป็นต้น
7. ในวัดมอญทุกวัด จะมีศาลเจ้าประจำมอญทุกวัด มอญเรียกว่า “ตะละพาน”
8. ชาวบ้านเคารพสถานที่ในวัด
9. ความเชื่อว่าวัดใน ช่อฟ้าใบระกา หน้าบันพัลทลายลงมาอย่าได้นำขึ้นไปอีก
10. มีความเชื่อว่าวัดใดกำลังปลุกเสกพระอยู่ ผู้หญิง สุนัข จะเข้าไปไม่ได้
11. มีความเชื่อ ในเรื่องการบวชเรียน มักจะเห็นว่า ชาวบ้านเดินผ่านหน้าโบสถ์ก็ต้องแสดงความเคารพกราบไหว้พระ ผู้หญิงห้ามเข้าไปในโบสถ์หรือบริเวณกุฏิพระ
12.มีความเชื่อ เมื่อบ้านใดมีทารกเกิดใหม่จะต้องนำทารกนั้นไปใส่ในกระด้งร่อน แล้วพูดว่า”สามวันลูกผี สี่วันลูกคน” ต่อเด็ก
13. มีความเชื่อ ในการโกนผมไฟ การโกนผมไฟ เป็นการสู่ขวัญเด็ก และสู่ขวัญบิดา มารดา เพื่อให้เกิดความสบายใจ ด้วยความเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธี ที่จะทำให้เป็นมงคลต่อเด็ก
14. มีความเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำประณีตได้ประณีต
15. มีความเชื่อ เกี่ยวกับการปลูกเรือนว่า เวลาสร้างบ้าน เวลาปลูกสร้างบ้านเรือนให้ปลูกวันเกิดของผู้สร้าง(เจ้าของ)
16.มีความเชื่อว่า เวลาปลูกบ้านต้องปลูกให้เสาเท่ากันหมด เชื่อว่าจะมีความสุข
17. มีความเชื่อว่า เมื่อจะขึ้นบ้านใหม่จะต้องเลือกวันและมีกำหนดเวลาไว้ว่าแต่ละวันจะทำอะไร
18. มีความเชื่อเกี่ยวกับ ความกตัญญูกตเวที น้องๆควรเชื่อฟังพี่คนโตซึ่งได้ถ่ายทอดจากผีบรรพบุรุษแห่งตระกูล
19. มีความเชื่อว่า ระบบเพื่อนบ้านและระบบเครือญาติทำให้การเป็นอยู่ในสังคม มีการพึ่งพา ถ้อยที ถ้อยอาศัยกันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ให้ความเกรงใจและให้ความเคารพนับถือกัน
20. มีความเชื่อว่า บุคคลที่นามสกุลเดียวกัน จะจัดงานบวชนาคกับงานแต่งงานในวันเดียวกันไม่ได้
21. เมื่อมีลูกสาวที่แต่งงานแล้ว จะให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ไม่ไห้นอนบ้านเดียวกับพ่อแม่
22. มีความเชื่อว่า ตุ๊กตา เป็นสิ่งไม่ดี จึงห้ามนำเข้าบ้าน เพราะจะทำให้ไม่มีความสุข
23. มีความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ว่าห้ามปลูกต้นราตรี ต้นลั่นทม ต้นพิกุล ไว้ในบ้าน เพราะต้นไม้เหล่านี้เป็นต้นไม้ที่อยู่ในวัด
24. มีความเชื่อว่า ต้นไม้ที่มีชื่อต่อไปนี้คือ ต้นโพธิ์ ต้นหว้า ต้นบุนนาค ต้นงิ้ว ถ้างอกขึ้นข้างๆบ้าน รีบทำลายเสียอย่าได้เก็บไว้ จะทำให้เจ้าของบ้านได้รับความเสียหาย
25. มีความเชื่อในเรื่องเต่า ชาวไทยมอญ จะไม่จับเต่ามาทำอาหาร ไม่จับตัวเต่าที่มีชีวิตเมื่อพบเห็นจึงต้องพูดว่า เต่าตัวนี้ตายแล้ว เพื่อเป็นการแก้เคล็ด แล้วนำเต่าไปปล่อย
26. มีความเชื่อว่า ศพคนตายจะต้องหันไปทางทิศเหนือ
27. มีความเชื่อว่า ภายใน 6 เดือน 9เดือน จะมีการทำพิธีไหว้ผีบ้านผีเรือน ปู่ย่า ตายาย โดยมีเครื่องไหว้ คือ กล้วย ไก่ หมู ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว
28. มีความเชื่อว่า ที่บ้านชาวไทยมอญ จะต้องมีที่ตั้งบูชาผ๊บรรพบุรุษ มีวิธีเซ่นผี เลี้ยงผี พิธีรำผี

29. ,มีความเชื่อในการเคารพบรรพบุรุษ ไม่ว่าท่านจะล่วงลับไปแล้ว หรือว่าท่านจะมีชีวิตอยู่ก็ตามเพราะการเคารพเทิดทูนบรรพบุรุษ ย่อมนำความเจริญมาถึงตนและครอบครัวตามหลัพระพุทธศาสนาที่ว่า “ปูชะนียานัง” หมายถึงการบูชาคนที่ควรเคารพ
30. มีความเชื่อว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วยังหิวโหยอยู่ ยังชอบรับประทานอาหาร ตามเทศกาล กล่าวคือ ขนมกาละแม จะมีในเทศกาลสงกรานต์ ขนมกระยาสารท มีในเทศกาลออกพรรษา ข้าวเม่าทอด มีในเทศกาลทอดกฐิน ข้าวต้มลูกโยนน้ำผึ้ง มีในวันเพ็ญเดือนสิบ
31. มีความเชื่อว่า บรรพบุรุษกับพวก เขาสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา และมักจะพบว่า ผีบรรพบุรุษจะรู้ด้วยการเซ่นไหว้อยู่เสมอ การทำบุญต้องอุทิศส่วนกุศลให้ การแต่งงานถือว่าจำเป็นต้องบอกผีบรรพบุรุษทั้งสองฝ่ายรับรู้ โดยจัดสิ่งของเซ่นไหว้ เช่นผ้าขาว เหล้า ไก่ โดยผ่านเจ้าบ่าวเป็นฝ่ายจัดหา ที่เรียกว่าเครื่องขันหมากจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งให้เจ้าสาว เซ่นไหว้บรรพบุรุษของเจ้าสาว อีกส่วนหนึ่งให้เจ้าบ่าวนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษของเจ้าบ่าว
32. มีความเชื่อว่า ผีบรรพบุรุษ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ที่เคารพมาแต่อยู่กรุงหงสาวดี แล้วอันเชิญมาประดิษฐานในชุมชนของตนเอง โดยปลูกศาลเจ้าให้เป็นที่สถิตดวงวิญญาณเหล่านั้น เพราะความผูกพันก็มีอยู่ตลอดเวลา
33. มีความเชื่อในเรื่องของผีบรรพบุรุษ
- ชาวไทยมอญมีความเชิอว่า ลูกชายคนโตของตระกูลจะเป็นผู้รับผีบรรพบุรุษต่อจาก บิดา มารดา หรือ คนรุ่นเก่าที่ล่วงลับไปแล้ว ที่บ้านจะมีที่ตั้งผีบรรพบุรุษ
- เชื่อว่า ผีบรรพบุรุษจะสิงสถิตอยู่ที่เสาเอกของเรือนโดยมีสัญญาลักษณ์ที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเสาผี คือ หีบ หรือกระบุงใส่ผ้าผี ได้แก่ สไบ ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า แหวนหัวพลอยแดง แขวนไว้ที่เสาผี
34. เชื่อว่า การที่ผู้หญิงไปแต่งงานกับคนต่างตระกูลหรือต่างผี จะต้องทำพิธีคืนผีบอกกล่าวก่อนที่จะไปเข้ากับผีฝ่ายสามี
35. เชื่อว่า ผู้ใดอยู่ในตระกูลทำผิดซึ่งระเบียบหรือข้อห้ามจะทำให้มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ซึ่งจะต้องทำพิธีรำผี
36. เชื่อว่า ชายหญิงที่ไม่ใช่ลูกคน(คนละผีกัน) จะร่วมหลับนอนกันภายในบ้านไม่ได้
37. มีความเชื่อว่าหญิงมีครรภ์ที่ไม่ใช่ลูกสาวห้ามนอนบนเรือน
38.มีความเชื่อว่า เมื่อมีคนในตระกูลตายหรือท้องในปีนั้น(สิ้นสุดเดือน6) ห้ามคนในตระกูลจัดพิธีต่างๆ เช่น พิธีโกนจุก แต่งงาน บวช หรือเลี้ยงผี
39. มีความเชื่อว่า หมู่บ้านชาวไทยมอญทุกหมู่บ้าน จะต้องมีศาลเจ้าประจำหมู่บ้านทุกๆ ปี หลังสงกรานต์แล้วจะต้องทำพิธี “รำเจ้า” ประจำหมู่บ้าน

Comments (0)

แสดงความคิดเห็น