• Twitter
  • Technocrati
  • stumbleupon
  • flickr
  • digg
  • youtube
  • facebook

Follow our Network

ถนนนางงาม กับ ขนมนาง งาม

0

ถนนนางงาม เป็นถนนสายเล็กๆ แคบๆ

เดิน รถได้ทางเดียว อยู่ใจกลางเมืองสงขลา

แต่ สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสภาพของถนนนั้น

คือ ความมีสำนึก ความมีน้ำใจ

และ ความใจกว้าง ของคนสงขลาบนถนนสายนี้

แบบ ที่เรียกว่า เห็นได้ไม่ง่ายนัก ในสังคมยุคปัจจุบัน

ถนนสาย นี้มีประวัติความ เป็นมายาวนานนับร้อยปี

ยาว จนกระทั่งคนในสงขลาเองบางคน

ก็ ยังไม่ทราบที่มาที่ไปของชื่อถนนสายนี้เลย

ผู้เขียนได้มี โอกาสพูดคุยกับคุณลุงท่านหนึ่ง

ชื่อ คุณลุงถาวร วรรณวิไล

คุณลุงเปิด ร้านค้าขายของ

ที่สื่อความ เป็นคนสงขลา และความเป็นคนไทยแบบเดิมๆ ได้เป็นอย่างดี

นั่นคือการขาย เครื่องใช้ เช่น หมา โอน และตะกร้าจักสานรูปแบบต่างๆ

คุณลุงเล่าว่า ตั้งแต่คุณลุงเกษียณ คุณลุงไม่อยากอยู่บ้านเฉยๆ

เลยตัดสินใจเปิด ร้านขายของกับ คุณป้าราตรี

คุณลุงและคุณป้า เป็นข้าราชการบำนาญทั้งคู่

คุณลุงกับคุณป้า กล่าวว่า

ที่ ตัดสินใจเปิดร้านค้าขายนี้ ก็ไม่ได้หวังกำไรใดๆ

เพียง แต่ต้องการให้ความรู้แก่คนรุ่นหลัง เกี่ยวกับเรื่องเครื่องใช้จักสาน

ที่ คนสมัยก่อนเคยใช้เท่านั้น

ส่วน เรื่องขายได้นั้น

เป็น เพียงผลพลอยได้จากการให้ความรู้

ผู้เขียนถึงจะ เป็นคนหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยกำเนิด

แต่แย่เสียจริงๆ ที่ไม่รู้ประวัติของ เมืองสงขลาเอาซะเลย

แม้กระทั่งว่า ทำไมถนนนี้ ชื่อ ถนนนางงาม

แต่คำตอบคงหาได้ ไม่ยากนัก

หากจะถามใครสัก คนที่เป็นคนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณนั้น

อย่างเช่นคุณลุง ถาวรอย่างงัยล่ะคะ

ว่า แล้วก็ต้องขอถามเพื่อคลายความสงสัยให้ตัวเอง

และ ก็เพื่อมาบอกต่อแก่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

ที่ อาจกำลังรอทราบคำตอบเหมือนดิฉันอยู่นี่แหละค่ะ

คุณลุงได้ให้ ความกระจ่างแก่ดิฉันว่า

กาล ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว (เล่ายังกะนิทานแน่ะ)

เมือง สงขลาได้มีการจัดประกวดนางงามครั้งยิ่งใหญ่

และ คนที่ได้เป็นนางงามในครั้งนั้น อาศัยอยู่บนถนนสายนี้

จาก นั้นเป็นต้นมา ถนนสาย นี้จึงได้ชื่อว่า ถนนนางงาม

เหตุผลง่ายๆ อย่างนี้นี่เองค่ะ ท่านผู้อ่าน

ส่วนชื่อถนนสาย อื่นแถวๆ นี้ ก็คงมีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ

แล้ววันหน้าผู้ เขียนจะติดตามหาที่อื่นมาเล่าให้ฟังต่อไปนะคะ

เพราะผู้เขียน เองก็ชักจะสนุกแล้ว

หรือ หากว่าท่านผู้อ่านคิดสงสัยชื่อถนนสายไหนในแถบลุ่มน้ำฯ

แล้ว ไปได้รับความรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้รู้ที่น่าเชื่อถือ

แล้วอยาก จะเขียนมาเล่าแบ่งปันความรู้และความสุขสนุกสนาน

ก็ ขอเชิญนะคะ

พูดถึงเรื่อง อาหารการกินของคนสงขลาแล้ว

อยากจะบอกว่า ไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ เลยค่ะ

หลายคนคงเคยคิด ว่า

มาหาดใหญ่ มาสงขลา จะซื้ออะไรกลับไปเป็นของฝากดีน้า...

และหลายคนก็ ตัดสินใจเลือกขนมขบเคี้ยวที่ตลาดกิมหยง

ซึ่งซื้อขายกัน เกร่ออยู่ที่ใจกลางนครหาดใหญ่ไปเป็นของฝาก

ปัจจุบันเลยกลับ กลายเป็นว่า

ของฝากจากตลาด กิมหยง คือสัญลักษณ์ว่ามาจากหาดใหญ่ มาจากสงขลา

ส่วนหนึ่งก็อาจ เป็นเพราะขนมที่นี้ เป็นของกิน ของขบเคี๊ยวแบบแห้งๆ

และสะดวกต่อการ ซื้อไปฝาก คนจึงนิยมซื้อติดไม้ติดมือไปฝากกันแน่ๆ เลย

ความจริง ขนมที่ตลาดกิมหยงก็อร่อยเหมือนกัน และมีให้เลือกมากมายเชียวค่ะ

ผู้เขียนเองก็ไป ซื้อหาทานบ่อยๆ เหมือนกัน เพียงแต่ไม่ใช่ขนมพื้นเพเลสาบ

ท่านผู้อ่านทราบ ไหมคะ

ว่าจังหวัดสงขลา ยังมีขนมอีกหลายอย่างที่อร่อยและน่าสนใจทีเดียวเชียวค่ะ

ขนม พื้นเมือง หรือขนมลุ่มน้ำที่ดิฉันจะกล่าวถึงต่อไปนี้

สามารถ หาได้เยอะในที่นี้ค่ะ บนถนนนางงามค่ะ

และ ผู้เขียนก็ขออนุญาตทึกทักเรียกขนมพวกนี้ว่า ขนมนางงาม เลยนะคะ

เริ่มกันตั้งแต่ ต้นถนนนางงามกัน เลยดีมั๊ยคะ

เมื่อท่านเข้า สู่ถนนนางงาม

ท่านจะพบร้านขาย น้ำชาทางด้านขวามือ

ร้านน้ำชาที่นี้ ดูเป็นกันเอง บรรยากาศร่มรื่น

และที่สำคัญ ผู้เขียนไปเจอกับขนมที่ไม่เคยเห็น หรือได้ยินมาก่อนเลย

ขนมที่ดิฉัน กล่าวถึง ชื่อว่า ขนม บอก ค่ะ

ก่อนอื่น ต้องขออธิบายให้ท่านผู้อ่านทราบเบื้องต้นกันก่อนว่า

พวกเราคนทางภาค ใต้มักจะย่อคำ และพูดสั้นๆ (แต่ได้ใจความ)

เหมือน ที่ใครต่อใครชอบแซวกันว่า

รถไฟ วิ่งสวนทางกันวูบเดียว

คน ใต้สองคน อยู่กันคนละขบวน ก็ยังตะโกนคุยกันรู้เรื่องเลย

กลับมาที่ ขนมบอก นะคะ

ชื่อเต็มๆ ของขนมชนิดนี้คือ ขนมกระบอก ค่ะ

หลายคนอาจคิดว่า คงจะเหมือนกับ ข้าวหลามหนองมน ของขึ้นชื่อของจังหวัดชลบุรีซีนะ

เกือบใช่ค่ะ แต่ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว

เพราะขนมที่ ดิฉันหมายถึงอยู่นี้ จะมีการทำให้สุกอยู่ในกระบอก

ซึ่งเป็นกระบอก สเตนเลส ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกประมาณ 3 เซนติเมตรเห็นจะได้

จากนั้น ก็จะบรรจุข้าวเหนียวหรือแป้งไว้ข้างใน แล้วก็นำไปนึ่ง

เมื่อสุกก็ใช้ ไม้ยาวๆ คล้ายตะเกียบ กระทุ้งออกมาคลุกกับมะพร้าวอ่อนขูด

สี ขาว น่ากินเชียวค่ะ

โรย หน้าด้วยน้ำตาลทรายและงาขาว รสชาติดีมากเลยนะคะ

เหมาะ กับการทานคู่กับน้ำชา

เกือบลืมบอก แน่ะคะ

ว่า ขนมบอก ขายตั้งแต่ประมาณบ่ายสองโมงเป็นต้นไป จนของหมด

อย่า เพิ่งอิ่มกันนะคะ นี่แค่เริ่มต้นกันเท่านั้นเอง

ร้านต่อมาเป็น ร้านที่ใครได้ทาน ต้องเย็น สดชื่น ไปตามๆ กัน แน่นอนค่ะ

นั่นก็คือร้านไอ ศครีมไข่สูตรดั้งเดิมร้านแรกในจังหวัดสงขลา

กำลังทำหน้างง กันอยู่แน่เลย ว่าทำไมต้องไอศครีมไข่

ก็ปกติ ไอศครีมก็มีไข่เป็นส่วนผสมอยู่แล้วนี่น๊า...

ที่พิเศษและ แปลกอยู่ตรงนี้ค่ะ

ทางร้านจะนำไข่ ไก่สดๆ

โดยจะใช้เฉพาะ ไข่แดง มาราดบนไอศครีมที่ตักใส่ถ้วยเรียบร้อยแล้วค่ะ

เมื่อ ก่อนเค้าใช้ไข่แดงทั้งลูกเลยนะคะ ราดบนไอศรีม

แต่ ปัจจุบัน ก็อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า

เศรษฐกิจ ไม่ค่อยดี ของกินของใช้ก็แพงขึ้น

กระทั่ง ร้านไอศรีมไข่ยังได้รับผลกระทบ

จน ทำให้ไข่แดงหนึ่งฟองเต็มๆ

เหลือ เพียงไข่ที่ตีใส่ชามแล้วราดลงบนไอศครีม

ลองคิดดูซิคะ ไข่แดงเหลวเมื่อเจอกับความเย็นของไอศครีม ไข่ก็จะแข็งตัว

เหมือนช็อคโก แล็ตที่ราดบนไอศครีมของสเวนเซ่น ยังงัยอย่างงั้นเลยล่ะคะ

แต่ถึงแม้ปริมาณ ไข่จะลดลง ก็ขอรับประกันความอร่อยค่ะ ว่ายังเหมือนเดิม

ที่ พิเศษของร้านนี้ยังมีอีกหลายอย่างเชียวค่ะ

เริ่ม ตั้งแต่ คนขายมีอายุ 72 ปี ส่วน ร้านมีอายุ 70 ปี

เรียก ได้ว่าคลุกคลีอยู่ในวงการนี้มาตั้งแต่เกิดกันเลยทีเดียว

ร้านนี้เป็นมรดก ตกทอดมาจากคุณพ่อของคนขาย

หรือที่คนเชื้อ สายจีนเรียกว่า อากง หรือ คุณปู่

ยิ่งทำให้เรา แปลกใจมากเข้าไปอีก

เพราะอาม่าคนขาย เป็นคนเชื้อสายจีนแน่นอน

แต่ทำไมชื่อร้าน ถึงชื่อว่า ร้าน ไอศครีมยิว

และแล้วก็ต้องไป ถามอาม่าให้หายสงสัยว่า ทำไมถึงมีชื่อแบบนี้

คำตอบที่ได้คือ สมัยที่อากงเดินทางเข้ามาอยู่เมืองสงขลาใหม่ๆ นั้น

เนื่องจากอากง เป็นคนต่างด้าว

จึงจำเป็นต้อง ผ่านการตรวจคนเข้าเมืองก่อน

ชื่อ เดิมของอากงคือ “ฮ่องยิ่ว”

แต่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองลืมเติมวรรณยุกต์เอกที่คำว่า ยิ่ว ค่ะ

อา กงก็เลยได้ชื่อใหม่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การขายไอศครีม ของอาม่าทำให้ผู้เขียนซึ่งนั่งทานอยู่นั้นประทับใจมาก

เรื่องมันเป็น อย่างนี้ค่ะ

วันนั้นผู้เขียน นั่งทานไอศครีมแสนอร่อยดับร้อนอยู่

โต๊ะข้างๆ กัน คุณแม่พาลูกชาย 2 คนมาทานไอศครีม

ลูกชายคนเล็กที่ มีอาการหวัดอยู่ บอกคุณแม่ว่าอยากจะทานอีกสักถ้วย

คุณแม่บ่นเสียง ดังไปนิด อาม่าจึงได้ยินเข้า

คุณ ว่าถ้าเป็นคนขายของทั่วไปเค้าจะทำยังงัยคะ

เท่า ที่ผู้เขียนเคยเจอ ส่วนใหญ่เค้าก็ไม่สนใจว่าใครจะเป็นหวัด หรือเป็นอะไร

เพราะ เขาจะขายของ

แต่ไม่ใช่ที่ ร้านไอศครีมยิวแน่นอนคะ

สิ่งที่ดิฉันได้ ยิน มันทำให้ดิฉันต้องหยุดทานไอศครีมชั่วครู่ และหันไปมองอาม่าทันที

อาม่าพูด อย่างนี้ค่ะ

“ไม่ได้นะ ไม่สบายอยู่ กินถ้วยเดียวก็พอแล้ว

เอา ไว้ให้หายไม่สบายก่อน จะมากินอีกกี่ถ้วยก็ได้

แต่ ตอนนี้ไม่สบายอยู่ ไม่ให้กินต่อ สุขภาพต้องมาก่อน

ดิฉันประทับใจ มาก

และรู้สึกว่า อาม่าไม่ได้เป็น เพียงแค่คนขายไอศครีมเท่านั้น

แต่ นี่ซิคือมนุษย์

ผู้ ซึ่งไม่ได้คิดเพียงแต่จะขายของให้ได้เงิน

อาม่าคิดถึง เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

นี่ถ้าใครมาเล่า ให้ดิฉันฟังเรื่องนี้ ดิฉันต้องคิดว่า โม้แน่นอน

และนี่เป็น สาเหตุที่ดิฉันอยากให้ท่านผู้อ่านมารับประสบการณ์ที่ดีเหมือนดิฉันที่นี้ค่ะ

ร้าน ไอศครีมยิว

อาหาร 2 อย่างข้างต้นที่ดิฉันกล่าวไปแล้วนั้น

ล้วน แต่เป็นอาหารที่ต้องรับประทานซะเดี๋ยวนั้น

ไม่ สะดวกที่จะซื้อเป็นของฝากได้

น่า เสียดายอะไรอย่างนี้

แต่อย่าเพิ่งหมด หวัง ว่าจะไม่ได้ชิมของอร่อยของสงขลาอย่างนั้นซิคะ

เพราะ ดิฉันคิดว่า ซื้อกลับไปฝากไม่ได้นี่ซิเป็นโอกาสดี

ที่ ท่านผู้อ่านจะได้หาโอกาสออกนอกบ้าน

หรือ เดินทางมาจังหวัดสงขลา มาเที่ยวชมและชิมของอร่อยที่นี้ด้วยตนเองนะคะ

เรื่องของกินของ ดิฉันยังไม่จบเพียงเท่านี้นะคะ

ในที่สุด ดิฉันก็เดินทางมาถึงอีกหนึ่งร้าน เป็นร้านของฝาก

และร้านนี่เอง ที่เราสามารถซื้อ ขนมลุ่มน้ำ ฝากของคนสงขลา ที่ดิฉันภาคภูมิใจ

ไปฝากคุณพ่อ คุณแม่ น้องๆ และบรรดาเพื่อนๆ

บนถนนนางงาม มีร้านจำหน่ายขนมของฝากที่มีหลากหลาย

ที่ อยู่ในรูปแบบแห้ง และอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ง่ายและสะดวกในการนำกลับไปฝากคนที่คุณรักได้

ร้านจำหน่ายของ ฝากในบริเวณนี้มีอยู่หลายร้านค่ะ

แต่ผู้เขียนไป สะดุดตาเข้ากับร้านนี้ค่ะ

ไม่ ใช่เพราะร้านนี้เป็นร้านที่มีสถานที่หรูหราแต่อย่างใด

ตรง กันข้าม ร้านนี้เปิดอยู่ในห้องแถว 2 ห้องติดกัน

โดย ที่บานประตูของร้านยังเป็นแบบดั้งเดิม

คือ ต้องใช้ไม้ที่ละแผ่นๆ มาทำเป็นประตู

จะ เปิดจะปิดร้านแต่ละที ต้องคอยยกไม้เข้า ยกไม้ออก ทีละไม้ๆ

การซื้อของ ฝากที่นี้ นอกจากจะได้ขนมที่อร่อยแล้ว

ดิฉันยังอิ่ม ใจที่เขายังคงรักษาสภาพความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม

ไว้ให้คนรุ่น หลังได้เห็น ได้ศึกษาอีกด้วย

ระหว่างที่ผู้ เขียนกำลังจับจ่ายซื้อของฝากอย่างสนุกสนานนั้น

ผู้เขียนก็ เหลือบไปเห็นป้ายประกาศเกียรติคุณให้แก่ร้านนี้

เนื่องด้วยเป็น ร้านแรก และเป็นร้านดั้งเดิมของจังหวัดสงขลาค่ะ

ร้านนี้มีชื่อ ว่า ร้าน ขนมไทยแม่ฉวี

และผู้ที่ขายของ ให้ดิฉันนั้น คือ คุณ พะเยีย สายเรี่ยม

ลูก สาวที่มีใจแน่วแน่ว่า ต้องการสานต่อกิจการของคุณแม่

และ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมอาหารการกินของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาไว้ค่ะ

นอก จากจะเป็นคนที่กตัญญูต่อผู้มีพระคุณคือคุณแม่แล้ว

คุณ พะเยียยังตอบแทนคุณแผ่นดิน

ด้วย การรักษาวัฒนธรรมอาหารการกินที่น่าชื่นชมนี่ไว้อีกด้วย

และแล้ว หนึ่งวันของผู้เขียนบนถนนนางงาม ก็ต้องขอจบลงเพียงเท่านี้ก่อน

ไม่ ใช่เพราะขนมไม่หลากหลาย จนไม่รู้จะแนะนำอะไรต่อไปแล้วหรอกนะคะ

แต่ เพราะดิฉัน......อิ่มมากเลยต่างหากค่ะ

555 ทานขนม...ชื่นชม...อิ่มประสบการณ์ บนถนนนางงาม มาตั้งแต่เช้า

ขอบคุณโครงการดี ๆ อย่างโครงการ รู้ รัก หวงแหน ลุ่มน้ำทะเลสาบ

ที่ทำให้ผู้ เขียนได้รู้ว่า ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย ที่ดิฉันและผู้อ่านบางท่านยังไม่ทราบค่ะ

ดิฉันรัก สงขลา และหลงมนต์เสน่ห์ของสงขลาขึ้นอีกเป็นกองเชียวค่ะ

วันนี้สนุก มาก ได้ทั้งความรู้ ได้ทั้งประสบการณ์ที่อิ่มสมอง แถมได้ทานขนมจนอิ่มท้อง

และ ที่คงจะไม่มีทางลืมอย่างเด็ดขาดก็คือ ความมีน้ำใจของคนสงขลา

บนถนนสาย หนึ่ง

ถนนที่ สำคัญของคนสงขลาหลายคน

หลาย ชั่วอายุคน

ถนนนางงาม

Comments (0)

แสดงความคิดเห็น